วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561

โทนสีในการใช้สีทาบ้าน


หลายๆท่านอาจจะไม่ทราบว่าสีทาบ้านที่ทาภายในนั้น มีผลต่ออารมและจิตใจของคนที่อยู่ในห้องด้วย เราลองมาดูกันนะคะ ว่าเราควรมีวิธีการเลือกสีอย่างไร

โทนสีแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ

ทาสีทาภายในด้วยสีโทนเย็น

สีโทนเย็น เช่น สีเขียว สีเหลืองอ่อน สีฟ้าอ่อน เป็นโทนสีสุดฮิต เพราะจะให้ความรู้สึกผ่อนคลาย สงบ สดชื่น คลายความเครียด ให้ความรู้สึกเป็นมิตร เหมาะสำหรับทาห้องที่มีขนาดใหญ่ เช่น ห้องรับแขก ห้องนอน ห้องนั่งเล่น

สีโทนอบอุ่น

เป็นโทนสีที่ไม่เข้มมาก เช่น สีม่วง สีส้มอ่อน สีน้ำตาลอ่อน ให้ความรู้สึกเป็นกันเอ อบอุ่น ผ่อนคลาย เหมาะกับห้องรับแขก ห้องหนังสือ

ทาสีทาภายในสีโทนร้อน

เป็นโทนสีที่เข้ม และสด เช่น สีแดง สีส้ม สีชมพู เป็นสีที่ทำให้รู้สึกกระตือรือร้น มีพลัง กระฉับกระเฉง เหมาะสำหรับทาห้องครัว ห้องอาหาร โดยสีโทนนี้มีผลทางจิตวิทยาทำให้มีความอยากอาหารมากกว่าปกติ แต่ไม่ควรให้สีจัดมากเกินไป เพราะบางครั้งจะทำให้รู้สึกไม่สบายตา ปวดหัว อึดอัดได้ค่ะ

มาลองดูเคล็ดลับการเลือกสีทาบ้านจากสีเบเยอร์กันค่ะ


สาเหตุที่เราต้องใส่ใจกับการเลือกสีบ้านนั้นมีเหตุผลมากมาย แต่ปัจจัยที่สำคัญจริงๆที่เราควรใส่ใจก็เป็นเพราะว่า บ้านเป็นสถานที่ที่เราอยู่อาศัย พักผ่อนกันในครอบครัว สร้างความสุข ดังนั้น เราจึงควรเลือกสรรทั้งสีทาภายนอกและสีทาภายในให้ดีที่สุด

1.พิจารณาจากแสงสว่างภายในบ้าน : ถ้าต้องการให้บ้านดูสว่าง ควรทาบ้านสีอ่อนๆ เช่นสีครีม สีจาว สีเบจ นอกจากจะช่วยจะทำให้บ้านสว่างแล้วยังทำให้บ้านดูกว้างขึ้นอีกด้วย หรือสำหรับบ้านที่มีความรู้สึกกว้างหรือโล่งเกินไป ก็สามารถใช้สีเข้มๆแก้ไข ทำให้บ้านดูมีขนาดที่ดูแล้วไม่กว้างจนเกินไปได้ค่ะ

2. พิจารณาสีทาภายในควบคู่กับของใช้ในบ้าน : ถ้าพิจารณาส่วนนี้ จะทำให้การตกแต่งบ้านดูสวย ลงตัว เช่น เทียบกับพื้น โซฟา นอกจากจะช่วยเรื่องความสวยงามแล้ว ยังช่วยปรับสมดุลความสว่างหรือมืดเฉพาะจุดได้อีกด้วย

3. การเลือกสีทาบ้านแบบสีกลางๆ อาจจะไม่ได้เหมาะกับบ้านทุกหลัง : สีจำพวกสีเทา สีเบจ สีน้ำตาลอ่อน ที่เป็นสีที่คนเลือกใช้มากที่สุด เพราะเข้ากับเฟนิเจอร์ได้ง่าย บางครั้งอาจจะทำให้บ้านดูน่าเบื่อ ลองออกแบบดีๆ อาจจะทำให้บ้านดูมีชีวิตชีวาขึ้นก็ได้ค่ะ

4. ตรวจให้แน่ใจก่อนจะซื้อสีมาทา : หลังจากที่เลือกสีทาบ้านได้แล้ว อย่าเพิ่งรีบไปซื้อนะคะ เพราะบางครั้งสีที่ซื้ออาจจะไม่ใช่สีที่คิด ควรมีการทดสอบก่อน โดยการลองนำสีไปติดไว้บนผนังตามส่วนต่างๆของบ้าน และสังเกตุสี ความเปลี่ยนแปลง ถ้ามั่นใจแล้วก็ซื้อได้เลย สีเบเยอร์ก็มีผลิตภัณฑ์และสีที่เยอะมากนะคะ ลองให้สีเบเยอร์เป็นตัวเลือกนึงของคุณก็ดีนะคะ

ถ้าหากว่าผู้อ่านเข้าใจวิธีการเลือกสีทาบ้านอย่างลึกซึ้งแล้ว ศึกษาให้ถ่องแท้ก็อาจจะหาซื้อสีทาบ้านราคาถูกได้นะคะ มีแหล่งซื้อสีทาบ้านอีกเยอะให้เลือกซื้อและตัดสินใจค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เหล็กชุบกัลวาไนซ์ คืออะไร ดีกว่าเหล็กอย่างอื่นอย่างไร

Add captionเหล็กชุบกัลวาไนซ์ คืออะไร ดีกว่าเหล็กอย่างอื่นอย่างไร


กัลวาไนซ์ (Galvanize/Galvanization/Galvanizing) คือ วิธีการเคลือบพื้นผิวเหล็กด้วยสังกะสีเพื่อป้องกันสนิม ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (Electrogalvanizing), การเคลือบด้วยวิธีทางกล (Mechanical Coatings), การพ่นเคลือบด้วยเปลวความร้อน (Zinc Spraying), การทาด้วยสีฝุ่นสังกะสี (Zinc-Rich Paints), การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot-dip Galvanizing), การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง (Continuous Hot Dip Galvanizing), การเคลือบด้วยเทคนิคเชอร์ราไดซ์ซิ่ง (Sherardizing)) เป็นต้น เหล็กที่ผ่านการเคลือบสังกะสีแล้วมักจะถูกเรียกว่า เหล็กกัลวาไนซ์ (Galvanized Steel)

ทั้งนี้ การกัลวาไนซ์ที่นิยมกันมากคือการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน โดยจะชุบเหล็กลงไปในบ่อสังกะสีเหลวที่กำลังหลอมละลายในอุณหภูมิประมาณ 435-455 องศาเซลเซียส ซึ่งสังกะสีจะเคลือบติดกับพื้นผิวเหล็กหนามากขึ้นตามระยะเวลาที่แช่ในบ่อ โดยทั่วไปจะมีความหนาของชั้นเคลือบประมาณ 65 – 300 ไมครอน เหล็กกัลวาไนซ์ที่ชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนเหมาะสำหรับการใช้งานเป็นส่วนประกอบของอาคารที่อยู่ภายนอกบ้าน ส่วนกลางแจ้ง หรือในบริเวณที่ต้องเจอกับความชื้นเป็นประจำ เช่น โครงสร้างหลังคา เสาธง เสาโคมไฟถนน โครงคร่าวผนัง รางน้ำฝน เป็นต้น

ข้อดีของเหล็กชุบกัลวาไนซ์

ถ้าหากเปรียบเทียบเหล็กชุบกัลป์วาไนซ์กับเหล็กทั่วไป เหล็กที่ผ่านการชุบกัลป์วาไนซ์นั้น ให้ความทนทาน และแข็งแรงกว่าเหล็กทั่วไป เนื่องจากการชุบกัลป์วาไนซ์นั้นเป็นการป้องกันการเกิดสนิม โดยไม่ต้องทาสีกันสนิมอีกด้วย จึงประหยัดค่าแรงงาน และประหยัดค่าสีกันสนิม อีกทั้งยังช่วยลดเวลาการทำงานได้ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเหล็กทั่วไป โดยยาวนานได้ถึง 50 ปี โครงสร้างเหล็กติดตั้งได้รวดเร็ว จึงประหยัดค่าแรงงานคนงาน

การนำเหล็กท่อชุปกัลวาไนซ์มาใช้งาน


เหล็กกัลวาไนซ์ตัวซี : เหมาะกับการใช้งานประเภทโครงหลังคา หรือโครงผนังภายในและภายนอกอาคาร
เหล็กกัลวาไนซ์ตัวยู : เหมาะกับการใช้งานประเภทโครงผนังบ้านตัวรับตัวซี โครงผนัง
เหล็กกล่องกัลวาไนซ์ : เหมาะกับการใช้งานโครงสร้างหลักเสาบ้าน หรือเหล็กกล่องแบนเหมาะกับการใช้งานประเภทโครงสร้างรองของบ้าน
เหล็กแผ่นกัลวาไนซ์ : เหมาะกับการใช้งานทำพื้นอาคาร วัสดุปูพื้น หรือทำท่อแอร์ ท่อลม
เหล็ก I-Beam หรือ H-Beam กัลป์วาไนซ์ : เหมาะกับการใช้งานประเภทโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ ๆ ที่ต้องการการกันสนิม และป้องกันการกัดกร่อน เช่น ใต้ดิน ริมทะเล ในทะเล โดยที่ไม่ต้องการการแก้ไขปรับปรุงอยู่บ่อยๆ
ท่อเหล็กกลมกัลป์วาไนซ์ : เหมาะกับการใช้งานทำโครงสร้างรั้วบ้าน ท่อประปา

อายุการใช้งานของการเคลือบผิวด้วยกัลวาไนซ์ 

การเคลือบผิวด้วยกัลป์วาไนซ์ โดยผ่านการทดสอบภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ค่าการต้านทานการเกิดการกัดกร่อนของการเคลือบผิวเบื้องต้น หาได้จากความหนาของผิวที่เคลือบ แต่ทั้งนี้การเคลือบนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าสภาพแวดล้อมที่ใช้งานในขณะนั้นอีกด้วย การคาดการณ์อายุของผิวเคลือบนั้นมีความสำคัญสำหรับการซ่อมบำรุงคือเรื่องของการตั้งงบประมาณ

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561

ทำความรู้จักกับเหล็กเสริมคอนกรีต



เหล็กเสริมคอนกรีตคืออะไร

            เหล็กเสริมคอนกรีต หมายถึง  เหล็กเส้นกลมธรรมดาหรือเหล็กข้ออ้อย  เหล็กเสริมคอนกรีตนี้ต้องเป็นเหล็กที่มีขนาดโตเสมอต้นเสมอปลาย มีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่าที่คิดจากเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กซึ่งกำหนดไว้ในแบบ เป็นเหล็กใหม่ผิวสะอาดปราศจากสนิม หรือน้ำมัน ไม่มีรอยแตกร้าวและมีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของกระทรวง อุตสาหกรรม ทั้งขนาด ทั้งน้ำหนัก และคุณสมบัติอื่นๆปริมาณและขนาดทั้งหมดของเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตให้ถือ ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในแบบโครงสร้าง  ผู้รับจ้างจะต้องเตรียมเหล็กเสริมตามตำแหน่ง ปริมาณ ขนาด และคุณภาพให้ถูกต้องตามแบบและรายการประกอบแบบโดยเคร่งครัด

ชนิดของเหล็กที่นำมาใช้กับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก

            1. เหล็กเส้นกลม (Round Bar)
                        เหล็กเส้นกลม คือ เหล็กเส้นที่มีพื้นที่ภาคตัดขวางเป็นรูปกลม มีผิวเรียบเกลี้ยง เหล็กเส้นกลมตามมาตรฐาน มอก. 20-2527 ทำจากเหล็กแท่งเล็ก (billet) เหล็กเส้นใหญ่ (bloom) หรือ เหล็กแท่งหล่อ (ingot) โดยตรง ด้วยกรรมวิธีรีดร้อนโดยไม่เคยมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นมาก่อน มีขนาด 6, 9, 12, 15, 19, 22, 25, 28 และ 34 มิลลิเมตร ความยาว 10 หรือ 12 เมตร มีชั้นคุณภาพเดียว ใช้สัญลักษณ์ SR 24 ชื่อขนาดใช้สัญลักษณ์ RB แล้วตามด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นนั้นๆ เหล็กทุกเส้นจะต้องมีชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตและชื่อขนาดหล่อเป็นตัวนูนติดกับผิวเหล็ก ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตจะต้องห่างจากชื่อ ขนาดไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร เหล็กเส้นชนิดนี้นิยมใช้กันมากที่สุดกับงานก่อสร้างขนาดเล็กและขนาดกลาง
            2. เหล็กรีดซ้ำ (Re-rolled Round Bar)
                        เหล็กรีดซ้ำ ตามมาตรฐาน มอก. 211-2527 ทำจากเศษเหล็กที่ได้จากเข็มพืด (sheet pile) เหล็กแผ่นต่อเรือ (ship plate) เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ หรือเหล็กที่คัดออกระหว่างการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้วนำมารีดเป็นเส้นกลมด้วยกรรมวิธีรีดร้อน มีขนาด 6, 8, 9, 10, 12 และ 15 มิลลิเมตร ความยาว 10 หรือ 12 เมตร มีชั้นคุณภาพเดียว ใช้สัญลักษณ์ SRR 24 ชื่อขนาดใช้สัญลักษณ์ R แล้วตามด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นนั้นๆ เหล็กทุกเส้นจะมีชื่อ หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตและชื่อขนาด หล่อเป็นตัวนูนติดกับผิวเหล็กเช่นเดียวกับเหล็กเส้นกลมด้วยเช่นกัน
            3. เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar)
                        เหล็กข้ออ้อย คือ เหล็กเส้นที่มีพื้นที่ภาคตัดขวางเป็นรูปกลม มีบั้ง (transverse ribs) และอาจมีครีบ (longitudinal ribs) ที่ผิว เพื่อเสริมกำลังยึดระหว่างเหล็กเส้นกับเนื้อคอนกรีต เหล็กข้ออ้อยตามมาตรฐาน มอก. 24-2527 ทำจากเหล็กชนิดเดียวกัน และด้วยกรรมวิธีเดียวกันกับเหล็กเส้นกลม มีขนาด 10, 12, 16, 20, 22, 25, 28 และ 32 มิลลิเมตร ความยาว 10 หรือ 12 เมตร มี 3 ชั้นคุณภาพ ใช้สัญลักษณ์ SD 30, SD 40 และ SD 50 ชื่อขนาดใช้สัญลักษณ์ DB แล้วตามด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นนั้นๆ เหล็กทุกเส้นจะมีชื่อเรียกหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตและชื่อขนาด หล่อเป็นตัวนูนติดกับผิวเหล็กเช่นเดียวกับเหล็กเส้นกลม และเหล็กรีดซ้ำ เหล็กเส้นชนิดนี้เนื่องจากให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กกับเนื้อคอนกรีตได้ดีกว่า 2 แบบแรก จึงนิยมนำไปใช้กับงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ

วิธีการเก็บรักษาเหล็กเสริมคอนกรีต

            1. จัดเก็บเหล็กเสริมคอนกรีตให้พ้นจากสิ่งสกปรก เช่น ดิน สี น้ำมัน ฯลฯ และต้องเก็บไว้เหนือพื้นดินโดยต้องมีหลังคาป้องกันน้ำค้าง น้ำฝน

            2.  เหล็กเสริมคอนกรีตที่ส่งเข้าหน่วยงานก่อสร้างจะต้องจัดกองเก็บแยกกองก่อน หลังที่นำเข้ามาตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อสามารถนำเหล็กที่เข้ามาก่อนไปใช้ก่อน โดยไม่ปะปนกับเหล็กเส้นซึ่งนำเข้ามาใหม่

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561

ข้อดีของบ้านโครงสร้างเหล็ก




ในปัจจุบันบ้านโครงสร้างเหล็กเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่อยากสร้างบ้านใหม่และงานต่อเติม เพราะเหล็ก เป็นวัสดุสำเร็จรูปผลิตมาจากโรงงานได้มาตรฐาน ตอบโจทย์งานออกแบบบ้านได้ทั้งรูปทรงเรขาคณิตและรูปทรงอิสระ ประกอบติดตั้งที่หน้างานก่อสร้างได้ง่าย รวดเร็วประหยัดเวลากว่างานคอนกรีตเสริมเหล็กร้อยละสามสิบ สามารถทำโครงสร้างที่มีช่วงคานยาวและคานยื่นได้ดี เสาคานเหล็กมีขนาดเล็กทำให้ภายในบ้านโล่งกว้างไม่มีส่วนของเสาหรือคานโผล่ซึ่งทำให้จัดวางเฟอร์นิเจอร์ได้ง่าย อีกทั้งยังเดินท่อน้ำใต้ท้องพื้น เดินท่อร้อยสายไฟฟ้าได้ง่าย

ข้อดีของบ้านโครงสร้างเหล็ก

1.       ระยะเวลาก่อสร้างสั้น รวดเร็ว
2.       ระยะเวลาก่อสร้างลดลง ทำให้ค่าแรงลดลงด้วย
3.       ปริมาณการทำงานลดลง ทำให้จำนวนแรงงานที่ต้องใช้ลดลง
4.       เหล็กมีความยืดหยุ่นสูง ช่วยให้บ้านสามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ดีขึ้น
5.       โครงสร้างเหล็กน้ำหนักเบากว่าคอนกรีต จึงช่วยลดการใช้เสาเข็มลงได้
6.       เหล็กมีความแข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้มาก
7.       เพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน (ลดขนาดเสา และคาน)
8.       ออกแบบรูปทรงแปลกใหม่ เช่น ลักษณะคานยื่นยาว รูปทรงเอียง
9.       ขั้นตอนการก่อสร้างลดลง ทำให้ปัจจัยที่จะเกิดความผิดพลาดลดลง
10.   สามารถสร้างในพื้นที่ที่เฉพาะ และมีข้อจำกัดสูงได้
สำหรับงานโครงสร้างที่เป็นเหล็กทั้งหมดไม่ใช้คอนกรีตเลยนั้น มักจะใช้เหล็กรูปพรรณ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและมีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้มาก สิ่งก่อสร้างที่ใช้เหล็กเป็นตัวโครงสร้างรับน้ำหนัก เช่น สะพาน Golden Gate Bridge  สะพานพุทธฯ  ไปจนถึงบ้านที่อยู่อาศัย  เหล็กรูปพรรณในงานโครงสร้างเหล่านี้มีอยู่หลายชนิดด้วยกันเช่น เหล็ก H Beam, I Beam และ cut beam เป็นต้น ซึ่งเหล็กที่นิยมใช้มากที่สุดสำหรับงานเสา-คาน คือ  เหล็ก H beam และเหล็ก I beam นั่นเองค่ะ
วิธีการนำเหล็กโครงสร้างมาประกอบเข้าด้วยกันมีอยู่สองระบบ ได้แก่ ระบบสลักเกลียว และระบบเชื่อมด้วยไฟฟ้า

ระบบสลักเกลียว   ส่วนมากเสาคานเหล็กตัวไอจะมีขนาดหน้าตัดและความหนาตามมาตรฐาน สามารถติดตั้งบ่าเหล็กฉากเข้ากับเสาก่อนแล้วจึงยึดเหล็กคานเข้ากับบ่าเหล็กฉากด้วยการร้อยน้อตสกรู ควรหันหางเกลียวออกด้านนอก แล้วขันน้อตสกรูรองแหวนด้วยมือใส่จนครบทุกตัว แล้วจึงใช้ประแจปอนด์ขันให้แน่นอีกครั้งค่ะ
ระบบเชื่อมด้วยไฟฟ้า การจัดเตรียมเหล็กให้ได้ขนาดตามแบบ จำเป็นต้องว่าจ้างโรงงานหรือตัดด้วยแก๊ส ควรเชื่อมบ่าเหล็กฉากติดข้างเสาเพื่อใช้เป็นระดับอ้างอิง วางคานเหล็กบนบ่ารองให้ครบ เชื่อมแต้มยึดโครงสร้างไม่ให้เคลื่อนตัว เชื่อมรอบแนวรอยต่อด้วยธูปเชื่อม แนวเชื่อมควรมีความกว้างอย่างน้อย 6 มิลลิเมตร เคาะเศษธูปตามแนวเชื่อมทิ้ง จากนั้นให้ทาสีกันสนิมเคลือบผิวเหล็กและแนวรอยต่อ
ไม่ว่าโครงสร้างเหล็กเหนือระดับพื้นดินจะประกอบกันโดยระบบใดก็ตาม ฐานรากใต้ดินที่รองรับน้ำหนักของตัวบ้านก็ยังคงเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเดียวกันกับบ้านปูน ซึ่งควรจะหล่อตอม่อยกตัวโครงสร้างเหล็กให้อยู่สูงจากระดับพื้นดินพร้อมกับทาสี โคลทาร์อีพ็อกซี เคลือบคานเหล็กชั้นล่างรวมถึงโคนเสา เพื่อลดความชื้นที่จะสัมผัสโครงสร้าง  หลังจากนี้งานก่อสร้างสามารถทำเหมือนกับบ้านปูนได้ทุกประการค่ะ

วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2561

คุณสมบัติของ เหล็กกัลวาไนซ์เมื่อเทียบกับงานสเตนเลส


               


                เหล็กมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแต่ประเภทก็มีการผลิต ความแข็งแรงและการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งเราจะมาเปรียบเทียบกันว่าเหล็กกัลวาไนซ์และสเตนเลสมีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อทำให้เข้าคุณสมบัติและข้อดีข้อเสียของเหล็กทั้งสองประเภทมากขึ้น

คุณสมบัติของเหล็กกัลวาไนซ์

1.       การเคลือบของกัลวาไนซ์ หรือ สังกะสีทำให้ป้องกันการผุกร่อน เหล็ก GI (GALVANIZE IRON) ผ่านการรีดเย็น ข้อดีของการรีดเย็น คือ เหล็กที่ได้จะมีลักษณะผิวเรียบ ผิวมัน สามารถนำไปใช้งานได้เลย
2.       ส่วนผสมของกัลวาไนซ์หรือสังกะสีในเนื้อผิวและเหล็กจะป้องกันไม่ให้เหล็กเป็นสนิม จึงไม่จำเป็นต้องทาสีกันสนิมช่วยประหยัดค่าสีกันสนิมและประหยัดเวลาในการติดตั้งโครงสร้าง

ข้อดีของเหล็กกัลวาไนซ์

                1. ช่วยประหยัดค่าสีกันสนิม เพราะเหล็กกัลไนซ์มีส่วนผสมของสังกะสีป้องกันสนิมเรียบร้อยแล้วจากโรงงานผลิต (Pre-Gavalvanized process)
                2. ช่วยประหยัดเวลาและค่าแรงคนงานในการทาสีกันสนิมทำให้ลดระยะเวลาในการก่อสร้างและติตตั้ง
                3. ช่วยประหยัดในระยะยาว (long term saving and less maintenance) เนื่องจากอายุการใช้งานยาวนานกว่า 50 ปี และไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษามาก
                4. มีความทนทานและแข็งแรงเทียบเท่ากับเหล็กรูปพรรณ Yield Strength: 2500 - 3500 KSC
                5. สะดวกในการกองเก็บวัสดุ ไม่ต้องกลัวสนิม

 ข้อเสียของเหล็กกัลวาไนซ์

1.       เหล็กกัลวาไนซ์0tเป็นสนิมบริเวณที่ต่อ เพราะบริเวณนั้นต้องมีการตาร์บเกลียว จะทำให้ขัดสังกะสีที่เคลือบออก
2.       เหล็กกัลวาไนซ์ไม่เหมาะกับระบบปะปา หรือระบบท่อเนื่องจากสังกะสีจะปนเปื้อนกับระบบน้ำและเป็นอันตรายต่อการบริโภคและอุปโภค
3.       เหล็กกัลวาไนซ์อันตรายจากการเชื่อมเนื่องจากการเชื่อมเหล็กชนิดนี้ก่อสารพิษจากสังกะสีซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ปฎิบัติงานหากไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายอย่างเพียงพอ

**อายุการใช้งานเฉลี่ยของท่อกัลวาไนซ์/เหล็กกัลวาไนซ์ อยู่ที่ประมาณ 10-20 ปี**

ท่อกัลวาไนซ์/เหล็กกัลวาไนซ์เมื่อเทียบกับงานสเตนเลส

                1. ท่อกัลวาไนซ์/เหล็กกัลวาไนซ์รับน้ำหนักได้มากกกว่า เนื่องจากมีความหนาของเหล็กมากกว่า และมีการเคลือบกันสนิม - สเตนเลสที่นำมาใช้ทำประตู หนา 1.2 มิล เหล็กที่นำไปชุบ หลังชุบจะหนา 2.2 มิลขึ้นไป
                2. ท่อกัลวาไนซ์/เหล็กกัลวาไนซ์ราคาถูกกว่างานสเตนเลส มากกกว่า 50% เช่นประตูสเตนเลส 100,000 ประตูทำจากกับวาไนซ์ต่ำกว่า 50,000 แน่ๆ
                3. อายุการใช้งานเมื่อเทียบกัน ท่อกัลวาไนซ์/เหล็กกัลวาไนซ์ 30 ปีขึ้น สเตนเลสน่าจะใกล้เคียงกัน (เนื่องจากยังไม่เคยพิสูจน์เวลา)
                4. เหล็กชุปกับวาไนซ์ ลดสนิมโครงสร้างทั้งหมด แต่ส่วนประกอบอื่นๆ อาจจะขึ้นสนิมได้ ดังนั้นโดยรวมจะลดสนิมไปประมาณ 90% ซึ่งเมื่อนำไปใช้จริง
                5. สามารถทำสีต่อได้ เมื่อสีถลอก จะปรากฎเนื้อเหล็กขาวๆ ไม่ขึ้นสนิม สวยงาม
                6. ซึ่งจากที่สรุป คือ ทนมลภาวะ จึงเหมาะกับการใช้งานแถบชายทะเล หรือแม้แต่ในเมือง
ซึ่งจากที่กล่าวมา เมื่อเทียบกับต้นทุนค่าชุบที่เพิ่มขึ้น กับระยะเวลาใช้งานแล้ว ถือว่าคุ้มค่าในการเลือกใช้



วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2561

ข้อดีของคอนกรีตผสมเสร็จ



คอนกรีตผสมเสร็จได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ข้อดีของคอนกรีตผสมเสร็จมีดังนี้

ข้อดีของคอนกรีตผสมเสร็จ

1.       มีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน กระบวนการผลิตของคอนกรีตผสมเสร็จจะมีการตวง การชั่งวัสดุที่เป็นส่วนผสม ตรงตามมาตรฐานที่ได้ออกแบบไว้ทุกครั้ง จึงเกิดการคลาดเคลื่อนของการผสมน้อยมาก
2.       มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หน่วยผสมคอนกรีตผสมเสร็จนั้น จะมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีอยู่เสมอ จึงสามารถผลิตคอนกรีตได้ตั้งแต่ 30-150 ลบ.ม./ชั่วโมง ทำให้การเทคอนกรีตเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากช่วยลดระยะเวลาการผสมคอนกรีต และยังสามารถลดจำนวนแรงงานในการผสมและเทคอนกรีตอีกด้วย
3.       สัดส่วนของวัสดุการผสมที่แม่นยำ คอนกรีตผสมเสร็จมีเครื่องชั่งแตะตวงที่ได้มาตรฐาน ทำให้ได้ส่วนผสมคอนกรีตที่ถูกต้อง แม่นยำและสม่ำเสมอ
4.       เหมาะกับงานที่ใช้คอนกรีตไม่มาก งานก่อสร้างบางแห่งอาจมีความต้องการใช้คอนกรีตน้อย แต่ต้องใช้วัสดุในการผสมต่างๆมาผสมคอนกรีตให้ยุ่งยาก และบางครั้งก็ไม่ได้ใช้คอนกรีตที่ผสมทั้งหมด คอนกรีตผสมเสร็จจึงเข้ามาตอบโจทย์ให้กับงานก่อสร้างเหล่านี้ได้อย่างตรงประเด็น เพราะสามารถสั่งซื้อมาใช้แค่เท่าที่จำเป็นจากหน่วยผลิตได้
5.       ไม่เปลืองพื้นที่ก่อสร้าง ลดพื้นที่ในการเตรียมงานก่อสร้างเพราะไม่ต้องใช้พื้นที่ในการนำวัสดุมาผสมคอนกรีต เช่น กองหิน กองทรายและที่ผสมคอนกรีต และยังสะดวกสบายกับงานที่ต้องเปลี่ยนจุดก่อสร้างอยู่ตลอดเวลา เช่น งานถนน งานคลองส่งน้ำ เป็นต้น
6.       สามารถยืดระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีตได้ งานก่อสร้างบางแห่งอาจมีอัตราการเทคอนกรีตค่อนข้างช้า จึงอาจทำให้คอนกรีตโดยทั่วไปก่อตัวแข็งเสียก่อน แต่หากเป็นคอนกรีตผสมเสร็จแล้ว สามารถเติมน้ำยาผสมคอนกรีตที่มีคุณลักษณะสามารถยืดเวลาการก่อตัวของคอนกรีตได้
7.       ราคาแพงกว่าไม่เป็นปัญหา แม้ราคาของคอนกรีตผสมเสร็จจะแพงมากกว่าการผสมคอนกรีตเองไปสักหน่อย แต่หากเทียบกับคุณภาพของงานที่ออกมานั้นถือว่าถูกมาก เพราะนอกจากจะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ สามารถประหยัดเวลาในการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี
8.       อยู่ภายใต้การรับรองคุณภาพของผู้ผลิต ผู้ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จจะต้องรับรองคุณภาพด้วยการทดสอบภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด กับความสะดวกในการใช้คอนกรีตผสมเสร็จ ซึ่งเป็นตัวการันตีว่าคอนกรีตผสมเสร็จที่ส่งมายังไซต์งานนี้มีคุณภาพตามมาตราฐานจริง     
                                จะเห็นได้ว่าคอนกรีตผสมเสร็จมีข้อดีมากกว่าคอนกรีตผสมเองทั้งด้านคุณภาพ ราคาที่มีความคุ้มค่าความรวดเร็ว ประหยัดพื้นที่และได้มาตรฐานกว่า


วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2561

วิธีคำนวณคอนกรีตผสมเสร็จ


                การที่เราจะใช้คอนกรีตผสมเสร็จในการปูพื้น เราต้องคำนึงถึงพื้นที่และปริมาณที่ต้องใช้ เพราะแต่ละแบบงานใช้ในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป เพื่อไม่ให้มีข้อผิดพลาดเราต้องมีการคำนวณให้ถูกต้องและเหมาะสม จะได้ไม่ขาดไม่เหลือ

วิธีคำนวณปริมาณคอนกรีตผสมเสร็จ

                การสั่งคอนกรีตสำเร็จ หรือคอนกรีตผสมเสร็จมาใช้งาน สามารถคำนวณปริมาณคอนกรีตที่ต้องการสั่งได้โดยวัดพื้นที่และความหนาที่ต้องการเทในหน่วยเมตร (ม.) ตามสูตร กว้าง x ยาวx หนา = ปริมาณคอนกรีตที่ต้องสั่ง (หน่วยเป็น ลบ.ม. หรือนิยมเรียกว่า คิว ซึ่งย่อมาจากคิวบิกเมตร) เช่น พื้นที่จอดรถกว้าง 4 ม. ยาว 5 ม. เทคอนกรีตหนา 10 ซม. (0.1 ม.) จะได้ 5 x 4 x 0.10 = 2 คิว หรือ 2 ลบ.ม.
                ซึ่งการสั่งคอนกรีตผสมเสร็จมาส่งที่หน้างานนี้จะใช้รถโม่คอนกรีตวิ่งตรงจากโรงงานที่ใกล้เคียง มี 2 ขนาดคือ รถโม่ขนาดเล็ก สามารถบรรทุกคอนกรีตสูงสุดที่ 2 คิว และรถโม่ขนาดใหญ่ สามารถบรรทุกคอนกรีตสูงสุดที่ 5 คิว
                นอกจากปริมาณคอนกรีตที่ต้องทราบแล้ว ต้องระบุประเภทงานด้วย เช่น คอนกรีตสำหรับเทเสาเข็ม ฐานราก เสา คาน พื้นภายในอาคาร หรือพื้นดาดฟ้า เป็นต้น เพราะการเทคอนกรีตในส่วนโครงสร้างที่กล่าวมานี้มีความแตกต่างกันที่ค่ากำลังอัด และค่าการยุบตัว ซึ่งขึ้นอยู่กับวิศวกรเป็นผู้กำหนด และผู้สั่งต้องระบุเวลา และรายละเอียดที่อยู่หน้างานให้ทางโรงงานทราบ เพื่อเจ้าหน้าที่จะผสมน้ำยาหน่วงคอนกรีตให้สัมพันธ์กับระยะเวลาและระยะทางการส่ง เพื่อป้องกันคอนกรีตเซตตัว ก่อนถึงหน้างาน ทั้งนี้เจ้าของบ้านต้องเตรียมพื้นที่ทางเข้า และจุดจอดลำเลียงคอนกรีตให้อยู่ในระยะปลอดภัยตามขนาดรถโม่ด้วย

            คอนกรีตเซตตัวหรือคอนกรีตหมดอายุ (คอนกรีตก่อตัว/คอนกรีตแข็งตัว)

               คือ คอนกรีตสด ที่เริ่มแข็งตัวและแข็งตัวขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลาที่ผ่านไป เนื่องจากน้ำที่ผสมในคอนกรีตบางส่วนถูกดูดซับโดยมวลรวม บางส่วนระเหยไปเพราะสภาพอากาศ และบางส่วนถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาไฮเดรชั่นระหว่างปูนซีเมนต์กับน้ำ จนสุดท้ายคอนกรีตจะเซตตัวหรือแข็งตัวโดยสมบูรณ์ ที่เรียกกันว่า คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ซึ่งควรมีคุณสมบัติในการรับกำลังต่างๆ และความทนทาน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงปริมาตร (คอนกรีตหดตัว) ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
                หากคอนกรีตเริ่มเซตตัว จะไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้น จึงควรเทหล่อคอนกรีตให้เสร็จเรียบร้อยก่อนคอนกรีตเริ่มเซตตัว ซึ่งโดยปกติจะมีเวลาประมาณ 1 ชม. หลังจากผสมคอนกรีตเสร็จเรียบร้อย ในอุตสาหกรรมคอนกรีตผสมเสร็จที่ต้องใช้เวลาในการขนส่ง มักจะมีการใส่สารผสมเพื่อหน่วงการก่อตัว  ซึ่งช่วยเพิ่มอายุคอนกรีตสดได้ประมาณ 2-4 ชม. เพื่อให้สามารถขนส่งคอนกรีตจากโรงงานไปยังหน้างานได้ทันใช้งาน

                ดังนั้น ก่อนสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จจากโรงงาน ควรตรวจสอบระยะทาง และระยะเวลาในการเดินทางให้ดี รวมถึงการวางแผนกำลังพล (คนงาน) และการเตรียมพื้นที่หน้างานให้พร้อม ไม่เช่นนั้นคอนกรีตอาจแข็งตัวคาโม่รถปูนได้ เพราะหากนำมาผสมน้ำเพิ่มเติมที่หน้างานเพื่อให้คอนกรีตเหลว จะทำให้คุณภาพของคอนกรีตลดลงและผิดเพี้ยนไป ส่งผลต่อค่ากำลังอัดของคอนกรีตโดยตรง

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561

ประโยชน์ของอิฐมวลเบาต่องานประเภทต่างๆ

                จากคุณสมบัติของอิฐมวลเบาที่มีขนาดเบากว่าอิฐมอญและอิฐบล็อก กันความร้อนและเก็บเสียงได้ดี ทำให้อิฐมวลเบาเป็นวัสดุก่อสร้างที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันโดยเฉพาะการก่อสร้างอาคารสูง

ประโยชน์ของอิฐมวลเบา Q-CON ต่องานประเภทต่างๆ

ประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม อพาร์ทเมนต์

1. รวดเร็ว
      ผลิตภัณฑ์ Q-CON ช่วยให้สามารถก่อสร้างได้เร็ว ช่วยประหยัดค่าแรงงาน หน้างานสะอาด และสามารถบริหารจัดการงานก่อสร้างได้ง่ายขึ้น
2. กันความร้อน
        ผนังอิฐ Q-CON กันความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ภายในบ้านเย็นสบาย ประหยัดค่าไฟฟ้าจากการใช้เครื่องปรับอากาศและพัดลม
3. กันเสียง
        Q-CON ใช้เป็นวัสดุผนังที่สามารถกันเสียงรบกวนระหว่างห้องได้ดี หรือใช้ร่วมกับวัสดุกันเสียงอื่นๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการกันเสียงได้ดียิ่งขึ้น
4. ไม่แพง
        ต้นทุนรวมค่าก่อฉาบไม่แพงเมื่อเทียบกับอิฐมอญ เนื่องจากอิฐ Q-CON ก่อได้เร็วกว่า ใช้ปูนก่อน้อยกว่า ฉาบบางกว่า ทำให้ประหวัดค่าปูนและค่าแรงได้มาก
กลุ่มคอนโด โรงแรมอาคารสำนักงาน
5. ประหยัด
      ด้วยคุณสมบัติที่เบาแต่แข็งแรง ผลิตภัณฑ์จาก Q-CON ช่วยทำให้คุณสามารถลดขนาดของโครงสร้างคาน เสา และรากฐานลงได้ ช่วยประหยัดเงินลงทุนได้มาก

กลุ่มห้างสรรพสินค้า โรงงาน ระบบสาธารณูปโภค

1. กันไฟ
        คุณสมบัติการกันไฟได้ยาวนานถึง 4 ชั่วโมงของ Q-CON ช่วยควบคุมการลุกลามของไฟได้ดี ช่วยลดความเสียหายและช่วยป้องกันทรัพย์สินของท่านได้
2. กันเสียง
        ด้วยเนื้อคอนกรีตมวลเบา Q-CON ที่มีโพรงอากาศขนาดต่าง ๆ กัน กระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ Q-CON สามารถดูดซับและสะท้อนเสียงได้ดี สามารถใช้เป็นผนังกันเสียง ลดเสียงรบกวนจากการจราจร



วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561

ทำความรู้จักกับท่อกลม



ทำความรู้จักกับท่อกลม

ท่อกลมคืออะไร 


ท่อกลมเป็นหนึ่งในเหล็กรูปพรรณ (Structural steel) จำพวกเหล็กรีดร้อน Hot Rolled ใช้สำหรับการก่อสร้างที่รับน้ำหนักได้ไม่มากนัก งานแป และงานประกอบทั่วไป นอกจากนี้ยังใช้สำหรับทำท่อลมและท่อน้ำมันได้อีก มีขนาดมาตรฐาน เริ่มต้นคือ 1/2 นิ้ว x 1.2 มม. (ครึ่งนิ้ว) มีความยาว 6,000 มิลลิเมตร/เส้น บางครั้งเรียกว่า ท่อแป๊ปดำ, แป๊บดำ, เหล็กหลอด, กลมดำ, ท่อดำ

ท่อกลมทำมาจากอะไร 

ท่อกลมเกิดจากการนำเหล็กกล้า ผ่านเข้าสู่เตาหลอมและต่อด้วยกระบวนการขึ้นรูป ออกมาจะเป็นท่อที่มีลักษณะกลวงยาว

ท่อเหล็กอาบสังกะสีคืออะไร 

ท่อเหล็กอาบสังกะสี คือ การนำเอาท่อที่ได้จากกระบวนการขึ้นรูป (ท่อเหล็กดำ) มาชุบสังกะสี เพื่อให้มีความคงทนต่อการกัดกร่อนของสนิมและมีความแข็งแรงทนทาน สวยงาม ใช้งานได้เป็นเวลานานไม่ทำให้เกิดรอยแตกเวลาเชื่อมซึ่งส่วนประกอบของสังกะสีจะขึ้นอยู่กับแต่ละโรงงาน จากนั้นก็จะนำมาต๊าพเกลียวเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยท่อเหล็กอาบสังกะสีเรียกอีกอย่างว่า ท่อประปากัลวาไนซ์ Galvanized Pipe หรืออีกชื่อ ที่เรียกกันทั่วไปว่า แป๊ปประปา เกิดจากการนำท่อดำไปชุบสังกะสีเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดสนิม โดยแบ่งตามความหนาเป็น 4 ประเภท คือ คาดเขียว (หนาสุด), คาดแดง, คาดน้ำเงิน, คาดเหลือง (บางสุด)

ขนาดและความหนาของท่อกลม

ขนาด มีตั้งแต่ 1/2",3/4", 1", 1-1/4", 1-1/2", 2", 2-1/2", 3", 3-1/2", 4", 5", 6",8”
ความหนา ตั้งแต่ 1.2,1.4,1.6,1.8,2.0,2.3,2.6,2.8,3.0,3.2,3.5,4.0,5.0,5.5,6.0mm

วิธีดูชั้นคุณภาพของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวง

ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุสาหกรรมกระทรวงอุสาหกรรมเหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวง ซึ่งต่อไปในมาตรฐานนี้จะเรียกว่า “เหล็กกลวง” แบ่งตามรูปภาคตัดออกเป็น 2 แบบ คือ

แบบกลม แบ่งตามสมบัติการดึงออกเป็น 3 ชั้นคุณภาพ คือ HS 41 HS 50 และ HS 51
แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส แบ่งตามสมบัติการดึงออกเป็น 2 ชั้นคุณภาพ คือ HS 41และ HS 50
แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งตามสมบัติการดึงออกเป็น 2 ชั้นคุณภาพ คือ HS 41และ HS 50

วิธีการตรวจสอบเครื่องหมายและฉลากบนท่อกลมก่อนเลือกซื้อ

บนท่อกลมควรตรวจสอบเลข ตัวอักษรหรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดชั้นคุณภาพ โดยสีเขียวสำหรับเหล็กกลวงชั้นคุณภาพ HS41 สีแดงสำหรับชั้นคุณภาพ HS50 และสีขาวสำหรับชั้นคุณภาพ HS51 ชื่อ ขนาด ความหนา ความยาว ชื่อผู้ทำหรือโรงงานที่ทำ หรือ เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

เหล็กรูปพรรณคืออะไร ?

เหล็กรูปพรรณคืออะไร ?

          
         

เหล็กรูปพรรรณ คือ เหล็กโครงสร้างอาคารที่มีรูปแบบหน้าตัดหลากหลาย ใช้ทำเป็นโครงสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น เสา คาน คอสะพาน เป็นต้น โดยรูปแบบของหน้าตัด และกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อการนำไปใช้งาน โครงสร้างในแต่ละส่วนของอาคารที่ต่างกันสามารถแบ่งประเภทได้ตามกระบวนการผลิตซึ่งมี 3 ประเภท ได้แก่

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (hot-roll structural steel section)
เหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็น (Cold form structural steel section)
เหล็กโครงสร้างรูปพรรณเชื่อมประกอบ (Weled structureral steel section)

ซึ่งแต่ละประเภทมีรายละเอียด ดังนี้

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (hot-roll structural steel section)

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (hot-roll structural steel section) มีการผลิตมากมายหลายมาตรฐาน และมีการผลิตใช้งานในต่างประเทศมายาวนาน เนื่องจากผลิตได้รวดเร็ว และเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง โดยประเทศผู้ผลิตเหล็ก จะผลิตเหล็กโดยมีมาตรฐานเป็นของตนเอง เพื่อให้ประเทศที่มีการจัดการอุตสาหกรรมแบบเดียวกันยอมรับและนำไปใช้งาน มาตรฐานเหล็กตามระบบ ที่นิยมใช้กันเป็นมาตรฐานสากล มี 3 ระบบ คือ

1. ระบบอเมริกา นิยมใช้กัน 2 มาตรฐาน

- ระบบ AISI (American Iron and Steel Institute)
- ระบบ SAE (Society of Automotive Engineer)

2. ระบบเยอรมัน เรียกว่า DIN (Deutsche Industrial Norms)

3. ระบบญี่ปุ่น เรียกว่า JIS (Japanese Industrial-Standards)


ซึ่งในประเทศไทยมีการผลิตและกำหนดมาตรฐานโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนเองภายในประเทศแล้ว เช่น

เหล็กเส้นกลม (ROUND BARS) เหล็กเส้นข้ออ้อย (DEFORMED BARS)
เหล็กเพลาขาว (STEEL ROUND BARS) เหล็กสี่เหลี่ยมตัน (STEEL ROUND BARS)
เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดเย็น (Cold formed structural steel)

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดเย็น (Cold formed structural steel) กระบวนการพับขึ้นรูปเหล็กกล้าที่มีลักษณะเป็นแผ่นในอุณหภูมิปกติ ซึ่งวัตถุดิบ คือการใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนหรือเหล็กแผ่นชุบสังกะสีเป็นวัตถุดิบ เช่น เหล็กตัวซี (LIGHT LIP CHANNEL) ท่อกลมดำ (CARBON STEEL TUBES) เหล็กกล่องสี่เหลี่ยมจตุรัส,ท่อเหลี่ยม (CARBON STEEL SQUARE PIPES) เหล็กกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า (CARBON STEEL RECTANGULAR PIPES) ท่อเหล็กอาบสังกะสี (GALVANIZED STEEL PIPES)
เหล็กโครงสร้างรูปพรรณเชื่อมประกอบ (Welded structural steel section)
เหล็กโครงสร้างรูปพรรณเชื่อมประกอบ (Welded structural steel section) คือ เหล็กโครงสร้างที่เกิดจากการนำแผ่นเหล็กที่มีความหนามากกว่า 3 มิลลิเมตรมาเชื่อมเป็นหน้าตัดต่าง ๆ ตามขนาดที่ต้องการมักใช้ในงานชิ้นส่วนโครงสร้างอาคารที่มีรูปแบบและขนาดเฉพาะเจาะจง





วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

ทำความรู้จักกับเหล็กกล่อง

ทำความรู้จักกับเหล็กกล่อง

เหล็กกล่องคืออะไร

เหล็กกล่อง (Steel Tube) หรือนิยมเรียกกันว่าเหล็กแป๊บ เป็นเหล็กรูปพรรณชนิดหนึ่ง มีสองประเภท คือ เหล็กกล่องสี่เหลี่ยม,ท่อเหลี่ยมหรือเหล็กแป๊บโปร่ง (Square Steel Tube) และเหล็กกล่องสี่เหลี่ยมแบนหรือเหล็กแป๊บแบน (Rectangular Steel Tube) มีส่วนประกอบทางเคมีสำคัญ ได้แก่ คาร์บอน แมงกานีส ฟอสฟอรัส และกำมะถัน
เหล็กกล่องสี่เหลี่ยม,ท่อเหลี่ยมหรือเหล็กแป๊บโปร่ง (Square Steel Tube)

เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวงแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวมาตรฐานเส้นละ 6 เมตร หรือ 6,000 มิลลิเมตร มีลักษณะเป็นท่อสี่เหลี่ยม มีมุมฉากที่เรียบคม ไม่มน ได้มุมฉาก 90 องศา ขนาดความยาวต้องวัดได้หน่วยมิลลิเมตร ผิดพลาดไม่เกิน 2% ทุกเส้นต้องยาวเท่ากัน นิยมนำมาใช้กับโครงสร้างที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมากนัก เช่น เสา นั่งร้าน,ประตู,ชั้นวางของด้านที่รับแรง สามารถนำไปใช้แทนไม้หรือคอนกรีตได้โดยการนำไปประยุกต์ เพราะมีน้ำหนักเบา, มีความแข็งแรง ทนทาน
เหล็กกล่องสี่เหลี่ยมแบนหรือเหล็กแป๊บแบน (Rectangular Steel Tube)

เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวงแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดความกว้างกับความสูงไม่เท่ากัน แต่มีความยาว 6,000 มิลลิเมตร ต่อเส้นเท่ากับความยาวของเหล็กแป๊บเหลี่ยม มีลักษณะผิวเรียบไม่หยาบ เหมาะสำหรับงานก่อสร้างทั่วไปที่มีขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น เสา,นั่งร้าน,ประตู เป็นต้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานทั่วไป ทดแทนการใช้ไม้ คอนกรีต และเหล็กรูปพรรณชนิดอื่นๆ น้ำหนักเบา และมีคุณสมบัติที่แข็งแรงทนทาน

เหล็กกล่องกัลวาไนซ์ เป็นกระบวนการผลิตเหล็กเคลือบกัลวาไนซ์กันสนิมโดยการนำเหล็กรูปพรรณไปชุป/พ่น/หรือทากัลวาไนซ์เพื่อป้องกันสนิม ซึ่งในความจริงแล้วการชุบกัลวาไนซ์คือชุบ Hot Dip กัลวาไนซ์ หรือการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot-dipped Galvanized ) นั่นเอง เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการปกป้องจากการเกิดสนิมในสภาพกลางแจ้ง (Outdoor) มีการสลายตัวประมาณปีละ 1 ไมครอน จึงมีอายุการใช้งานเกิน 20 ปี

ขั้นตอนการชุปกัลวาไนซ์


1. การกำจัดสิ่งสกปรก (Surface Cleaning)) เพื่อขจัดเศษฝุ่น (Rinsing) หรือผงต่างๆ ออกจากชิ้น งานล้างด้วยน้ำสะอาด (rinsing)
2. การกัดด้วยกรด (pickling) เช่น กรดซัลฟิวริก กรดไฮโดรคลอริก เพื่อกัดสนิมขนาดเล็กที่เกาะตามผิวของชิ้นงาน
3. การแช่น้ำยาประสาน (fluxing) เพื่อปรับความตึงผิวของเหล็กและเพื่อให้ชิ้นงานยึดติดกัลวาไนซ์ได้ดี
4. การชุบเคลือบสังกะสี(galvanizing) ซึ่งจะแบ่งวิธีการชุบได้ดังนี้

- การเขย่าหรือเหวี่ยง ใช้สำหรับงานพวกน็อต สกรู หรืองานขนาดเล็ก
- การชุบแบบธรรมดาโดยไม่ต้องเขย่าใช้กับชิ้นงานขนาดใหญ่ทั่วไป

5. การตกแต่งสำเร็จ (finishing) เช่น 
การขัดด้วยตะไบหรือเจียร์ออก
6. การตรวจสอบความหนา (inspection) เพื่อเป็นการยืนยันได้ว่าตรงตามความต้องการของลูกค้า


ข้อดีของการใช้เหล็กกล่องกัลวาไนซ์


1. ประหยัดค่าสี เพราะไม่ต้องใช้สีกันสนิม
2. ประหยัดเวลาและแรงงาน เพราะไม่ต้องใช้คนงานมาทาสีกันสนิม
3. มีอายุการใช้งานนาน
4. มีความแข็งแรงทนทาน
5. เก็บรักษาง่าย ไม่ต้องกังวลเรื่องสนิม


วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2561

ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเหล็กกลม การขนส่งและความเหมาะสมในการใช้งาน

ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเหล็กกลม การขนส่งและความเหมาะสมในการใช้งาน

หลาย ๆ คนอาจจะรู้จักเหล็กกลมกันมาบ้างแล้ว บทความนี้จึงมีข้อแนะนำในการเลือกซื้อ การใช้งาน รวมไปถึงหากอยากได้เหล็กเส้นกลมที่มีคุณภาพดีนั้น เราควรที่จะตรวจสอบอย่างไร

ข้อแนะนำในการเลือกซื้อ ความเหมาะสมในการใช้งานเหล็กกลม

  • เหล็กเส้นกลมสำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มากนัก 
  • เหล็กเส้นกลมสำหรับใช้ทำปลอกเสา 
  • เหล็กเส้นกลมสำหรับใช้ทำปลอกคาน 
  • เหล็กเส้นกลมสำหรับไม่นิยมสำหรับงานยึดเกาะเช่นปูน เพราะเหล็กมีผิวเรียบมน ไม่เหมาะกับงานยึดเกาะ 
  • เหล็กเส้นกลมมีหลายขนาด ซึ่งแต่ละขนาดก็ใช้งานได้ต่างกัน 

อยากได้เหล็กเส้นกลมที่ดี มีคุณภาพ จะตรวจสอบได้อย่างไร

ผิวของเหล็กต้องเรียบ เกลี้ยง ไม่มีลูกคลื่น ไม่มีปีก ไม่มีรอยแตก หน้าตัดต้องกลม ไม่เบี้ยว
เส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักต้องถูกต้อง เช่น SR24 ขนาด 9 มม. เมื่อวัดเส้นผ่าศูนย์กลางต้องได้ 9 มม. น้ำหนักต้องได้ 0.499 กก./ 1 เมตร ความยาวทั้งเส้นตามมาตรฐานต้องยาว 10 เมตร เป็นต้น
เมื่อดัดโค้งงอต้องไม่ปริแตกและหักง่าย
เหล็กต้องไม่เป็นสนิมกินเข้าไปในเนื้อเหล็ก แต่หากเป็นสนิมบ้างบนผิวเหล็ก อาจเป็นเรื่องของสภาพอากาศของเมืองไทย ไม่ต้องกังวล

อยากได้เหล็กที่ดี มีคุณภาพ จะตรวจสอบได้อย่างไร


เหล็กเส้นก็เปรียบเหมือนกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทั่วๆไป คือจะต้องมีป้ายฉลากบอกรายละเอียดสินค้า เมื่อมีการผลิตเหล็กเส้นออกจำหน่าย ผู้ผลิตจะต้องติดป้ายเหล็กเพื่อบอกรายละเอียดที่เป็นข้อมูลสำคัญ ได้แก่

  • บริษัทผู้ผลิต ประเภทสินค้า (Type)
  • ชั้นคุณภาพ (Grade)
  • ขนาด(Size)
  • ความยาว (Length)
  • วันเวลาที่ผลิต (Date/Time)
  • เครื่องหมายมอก.
กรณีที่ไม่มีป้ายเหล็ก สามารถสังเกตรายละเอียดต่างๆ ซึ่งรายละเอียดทั้งสามอย่างต้องปรากฏบนเนื้อเหล็กอย่างชัดเจน ได้ดังนี้
  • ชื่อผู้ผลิตหรือตรายี่ห้อ 
  • ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง เช่น RB9 DB16 DB20
  • ชั้นมาตรฐานของเหล็กนั้นๆ เช่น SR24 SD40 SD50

การเลือกการขนส่งเหล็กเส้นกลม

เหล็กเส้นกลมแบบตรงกับเหล็กเส้นกลมแบบพับต่างกันยังไง

1. เหล็กเส้นกลมแบบพับ

ลักษณะของเหล็กเส้นกลมแบบพับคือจะพับมาให้เลย
สะดวกในการขนขึ้นรถ และสามารถบรรทุกในรถหกล้อ รถสิบล้อ หรือในบางครั้งอาจจะขนส่งโดยรถกระบะก็ได้
เหมาะสำหรับการสั่งเหล็กเส้นกลมในบริมาณที่ไม่มากนัก

2. เหล็กเส้นกลมแบบตรง

ลักษณะของเหล็กเส้นกลมแบบพับคือจะไม่พับมา
ขนส่งโดยรถพ่วงเท่านั้น เพราะยาวมาก
เหมาะสำหรับการสั่งเหล็กเส้นกลมปริมาณเยอะมากๆ