วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ทำความรู้จักกับแป๊บแบน

ทำความรู้จักกับแป๊บแบน 



เหล็กกล่องหรือแป๊บแบน คืออะไร เหล็กกล่องนี้จัดอยู่ในประเภทเหล็กรูปพรรณ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เหล็กกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Rectangular Steel Tube) หรือ เหล็กแป๊บแบน และเหล็กกล่องสี่เหลี่ยมจตุรัส (Square Steel Tube) หรือ เหล็กแป๊บเหลี่ยม สำหรับเหล็กกล่องทั้งสองชนิดนี้เหมาะกับงานก่อสร้างขนาดกลางและขนาดเล็ก และเป็นเหล็กที่มีปริมาณซื้อขายในตลาดค่อนข้างมาก เช่น ที่พักอาศัย และอาคารพานิชย์ เสา,นั่งร้าน,ประตู เป็นต้น

เหล็กกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Rectangular Steel Tube) มีชื่อเรียกหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น ท่อแบน แป๊ปแบน หรือ เหล็กแป๊บแบน เป็นเหล็กที่มีโครงสร้างรูปพรรณกลวงแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาว 6,000 มิลลิเมตร/เส้น มีลักษณะเป็นท่อสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผิวเรียบไม่หยาบ ขนาดความยาวเท่ากันทุกเส้น เป็นท่อเหล็กที่ไม่มีมาตรฐานกำหนด เน้นสำหรับใช้งานโครงสร้างทั่วไปที่มีขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นเหล็กที่ไม่เน้นคุณสมบัติทางกลมากนัก สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานทั่วไป ทดแทนการใช้ไม้ คอนกรีต และเหล็กรูปพรรณชนิดอื่นๆ น้ำหนักเบา และมีคุณสมบัติที่แข็งแรงทนทาน ราคาเหล็กแป๊บแบนสูงกว่าเหล็กชนิดอื่นๆ เพราะเหล็กแป๊บแบนเป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งการใช้เหล็กแป๊บแบนจะช่วยให้การทำงานรวดเร็วและสะดวกขึ้น

คุณสมบัติของเหล็กแป๊บแบน 


คุณสมบัติของหล็กแป๊บแบน คือ น้ำหนักเบา แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานก่อสร้างอื่นๆได้อย่างหลากหลาย ทั้งงานก่อสร้างทั่วไปขนาดเล็กและขนาดกลาง สามารถใช้ทดแทนไม้ หรือ งานโครงสร้าง เช่น คอนกรีตเสา นั่งร้าน ประตู และเหล็กรูปพรรณชนิดอื่นๆ เนื่องด้วยคุณสมบัติที่ดีกว่า จากที่ทราบกันไปแล้วว่า เหล็กแป๊บแบน เป็นเหล็กที่มีโครงสร้างของเหล็กรูปพรรณวันนี้เราจะมาดูข้อดีของการใช้งานเหล็กแป๊บแบนที่มี โครงสร้างรูปพรรณกัน

ประโยชน์ของเหล็กแป๊บแบน


โดยลดระยะเวลาในการก่อสร้าง เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็วต่อการใช้งาน อีกทั้งยังสามารถลดดอกเบี้ยของโครงการ ทำให้สามารถเปิดใช้งานได้เร็วขึ้น มีการเตรียมการจากโรงงานผลิตได้เลย ทั้งสเปกและคุณภาพ สามารถออกแบบโครงสร้างได้หลากหลาย เช่น ดัดโค้ง ทำโครงสร้างโปร่ง หรือทำส่วนยื่นมาดัดแปลงได้ ด้วยโครงสร้างที่มีน้ำหนักเบา ทำให้ประหยัดฐานราก จึงช่วยลดการขนส่ง มีการควบคุม ตรวจสอบคุณภาพ บำรุงรักษาได้สะดวกแข็งแรง ทนต่อการเกิดแผ่นดินไหวได้ดีกว่าระบบอื่น สามารถใช้ก่อสร้างในบริเวณที่จำกัดได้ ไม่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองกระจายตามอากา อีกทั้งยังต่อเติม ดัดแปลง รื้อถอน โดยสามารถนำไปใช้ในงานอื่นต่อได้ และสามารถนำมาหลอมละลายเพิ่มกลับมาใช้ใหม่ได้

ทำความรู้จักกับแป๊บกลม

ทำความรู้จักกับแป๊บกลม
ทำความรู้จักกับแป๊บกลม


แป๊ปกลม มีชื่อเรียกหลายชื่อ บางครั้งเรียกว่า เหล็กท่อดำ, แป๊บดำ, เหล็กหลอด, กลมดำ, ท่อดำ เป็นเหล็กรูปพรรณกลวงแบบกลมชนิดหนึ่ง ตามมาตรฐานของ มอก.107-2533 ชั้นคุณภาพ HS41 มีความยาว 6,000 มิลลิเมตร/เส้น ผ่านการขึ้นรูปด้วยเครื่องจักรประสิทธิภาพมาตรฐาน ควบคุมด้วยวิศวกร QC สูงสุด โดยการผลิต ท่อกลม/แป๊ปกลม แบ่งการผลิตที่มีลักษณะแตกต่างกันออกเป็น 2 รูปแบบ

1. นำวัตถุดิบเข้าสู่เตาหลอม จากนั้นขึ้นรูปด้วยการรีด เป็นท่อเหล็กดำที่ไม่มีตะเข็บ(Seamless Steel Pipe)

2. นำวัตถุดิบเข้าสู่เตาหลอม จากนั้นขึ้นรูปจากนั้นเชื่อมปลายสองข้างให้ติดกัน ซึ่งจะได้ท่อเหล็กมีตะเข็บ ( ERW Steel Pipe)

ท่อเหล็กดำที่ไม่มีตะเข็บ 


ท่อเหล็กดำที่ไม่มีตะเข็บ มีคุณสมบัติที่มีความสมมาตรซึ่งทำให้มีความมั่นคงจึงเหมาะสำหรับใช้เป็นท่อในงานโครงสร้างและท่อส่งน้ำมัน ส่วนท่อเหล็กดำแบบมีตะเข็บ มักใช้ในงานโครงสร้างและการขนถ่ายวัตถุดิบ เนื่องจากมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในและภายนอกที่มีความละเอียดสูง ทำให้มีความมั่นคงสูง มีคุณสมบัติที่ทนแรงดันได้ดี มีความสามารถ ในการรับแรงดัน มีความแข็งแรงทนทาน แต่น้ำหนักเบา ตะเข็บเรียบ สะดวกในการเชื่อมต่อ


เราทราบกันดีแล้วว่าการผลิต ท่อกลม/แป๊ปกลม มีกระบวนการผลิตออกมาที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีวิธีการนำไปใช้งานที่หลากหลาย แต่เพื่อการใช้งานที่คงทน จึงเกิด ท่อเหล็กอาบสังกะสีขึ้น เป็นการนำเอาท่อที่ได้จากกระบวนการขึ้นรูป(ท่อเหล็กดำ) มาชุบสังกะสี เพื่อให้มีความคงทนต่อการกัดกร่อนของสนิม ซึ่งส่วนประกอบของสังกะสีจะขึ้นอยู่กับแต่ละโรงงาน จากนั้นก็จะนำมาต๊าพเกลียวเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ ท่อเหล็กอาบสังกะสี มักนิยมใช้กับงานระบบประปา คนทั่วไป จึงเรียกว่า ท่อประปา โดยข้อเสียของท่อกลม/แป๊ปกลมคือเมื่อใช้เป็นเวลานานจะเกิดสนิมเกาะจึงต้องได้รับการตรวจสอบอยู่ บ่อยๆ

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ประโยชน์ของไวร์เมชและหน้าที่ในเชิงการก่อสร้าง

ประโยชน์ของไวร์เมชและหน้าที่ในเชิงการก่อสร้าง


ตะแกรงเหล็กไวร์เมชใช้เครื่องจักรในการเชื่อมสปอตหลอมให้เป็นเนื้อเดียวกัน จึงทำให้ได้ตะแกรงเหล็กไวร์เมชที่มีจุดเชื่อมและระยะห่างคงที่ มีความแข็งแรงและประหยัดเวลา สามารถควบคุมงบประมาณและคุณภาพของการก่อสร้างได้ดียิ่งขึ้น

เหตุผลที่เราควรใช้เหล็กไวร์เมชแทนเหล็กผูกแบบธรรมดา

เหล็กไวร์เมชมีคุณสมบัติที่ดีกว่าเหล็กผูกแบบธรรมดาหลากหลายด้าน มาดูกันว่าทำไมเราถึงควรเลือกใช้เหล็กไวร์เมชแทนเหล็กผูกแบบธรรมดา

1. ใช้งานง่าย และรวดเร็วในการใช้งาน นำมาใช้ได้ทันที และสามารถขนส่งเคลื่อนย้ายได้สะดวกและ ไม่ต้องเสียเวลาผูกเหล็ก

2. เพราะเป็นตะแกรงเหล็กที่มีกำลังคลากสูงกว่าเหล็กเส้นทั่วไปถึงสองเท่า จึงทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเรื่องวัสดุ และ ประกอบกับตะแกรงเหล็กสามารถสั่งผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการ จึงไม่ทำให้เสียเศษเหล็ก ลดขั้นตอนเวลา และลดความสูญเสีย ไวร์เมชนั้นเป็นเหล็กสำเร็จรูปที่ทำมาพร้อมใช้งานได้เลย เพราะงั้นจึงประหยัดเวลาเพราะลดขั้นตอนการผูกเหล็กไป

3. ตะแกรงเหล็กไวร์เมชใช้เครื่องจักรในการผลิต ทำให้งานเสริมเหล็กออกมาดีและเหล็กยังเป็นเหล็กทีได้มาตรฐานทั้งเหล็กเส้นกลม หรือข้ออ้อย เพราะมีความแข็งแรงสม่ำเสมอ มีมาตรฐานและมั่นใจได้ว่าเหล็กจะไม่บิดงอ แข็งแรงสม่ำเสมอกันตลอดทั้งแผ่น

4. เพราะ มีขนาดเท่ากันทั้งแผ่น ตรวจสอบปริมาณได้ง่ายและรวดเร็ว จึงทำให้สามารถคำนวณการใช้งานเป็นตารางเมตรได้แม่นยำ

5. ผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการใช้งาน เพราะ ตะแกรงเหล็กไวร์เมชผลิตจากโรงงานมาตรฐาน และเหล็กเส้นมาตรฐาน ทำให้ตะแกรงเหล็กมีขนาดมาตรฐาน มีความกว้างและยาวเท่ากันทั้งแผ่น

6. ใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ปูพื้นก่อนเทคอนกรีตทับหน้า,งานพื้นสำเร็จรูป , พื้นบนดิน ,พื้นสำเร็จรูป,งานถนนคอนกรีต พื้นโรงจอดรถ ,โกดังเก็บของ ,ลานจอดรถ , งานหลังคา ,ถังเก็บน้ำ,สระว่ายน้ำ ผนังรับแรง (Bearing Wall) กำแพงกันดิน ที่ต้องการโครงสร้างที่ผสานเชื่อมต่อกันอย่างมั่นคงแข็งแรง

7. เพราะการขนส่งเคลื่อนย้ายที่สะดวกและรวดเร็ว กำหนดเวลางานเสร็จได้แน่นอน จึงไม่ต้องเสียเวลามัดลวดกับเหล็กเส้น ทำให้สามารถนำมาใช้งานได้ทันที อายุการใช้งานยาวนานหลายปี

8. กำลังคลาทสูงกว่าเหล็กผูกแบบปกติ และรับแรงได้มากกว่า เหล็กปกติทั่วไป

9. ขนส่งง่ายสะดวกง่ายดาย ไม่ยุ่งยาก เพราะการผลิตนั้น จะออกมาเป็นแผ่นเท่าๆกัน สามารถม้วนหรือตัดเป็นแผงได้

หน้าที่ของตะแกรงเหล็กไวร์เมช

ใช้เป็นทางยาวๆการเอาเหล็กมาผูกและเป็นเหล็กขนาดเล็กอาจจะไม่เหมาะเท่าที่ควรและประสิทธิภาพไม่ดีเท่าเหล็กไวร์เมช หรือตะแกรงไวร์เมช มีหน้าที่เอาไว้รับแรงกระแทกเพราะ ช่วย ให้การทำงานไวขึ้น

วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

“เหล็กเส้นข้ออ้อย” สิ่งที่คนสร้างบ้านต้องรู้

เพิ่มคำอธิบายภาพ


เหล็กข้ออ้อยมีความสำคัญต่อการสร้างบ้านเป็นอย่างมาก เพราะการสร้างบ้านต้องศึกษาเกี่ยวกับเรื่องวัสดุต่างๆ รวมถึงการหาผู้รับเหมาที่สามารถไว้ใจได้เพื่อมาสร้างบ้านที่มีคุณภาพ และป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากการเลือกซื้อวัสดุของผู้รับเหมา ซึ่งต้องพิจารณาตั้งแต่การเลือกซื้อ และการเลือกใช้อย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้เหล็กเส้นข้ออ้อยที่ได้มาตรฐาน มอก.

เหล็กเส้นข้ออ้อย (Deformed Bars DB)

เนื่องจากผิวของเหล็กมีลักษณะเป็นปล้องๆ คล้ายๆอ้อย จึงเรียกว่า เหล็กเส้นข้ออ้อย ตามมาตรฐาน มอก. 24-2536 กำหนดให้เหล็กเส้นข้ออ้อยมีชั้นคุณภาพหลายชั้น เช่น SD30, SD40, SD50 และ SD60 ซึ่ง SD30 จะหมายถึงเหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 3,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร หรือ SD40หมายถึงเหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม/เซนติเมตร ขนาดของเหล็กมีตั้งแต่ 10มม. ถึง 40 มม. ความยาวมาตรฐานคือ 10ม. และ 12มม. หรือสามารถสั่งดัดพิเศษตามต้องการได้ เหล็กเส้นข้ออ้อยจะใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ

ในเสาแนวตั้ง จะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กยืน (ตั้งตลอดแนวเสา) และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็กปลอกรัดรอบเหล็กยืนเป็นระยะๆ ในคานแนวนอน จะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กนอน (ยาวตลอดแนวคาน) และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็ก ปลอกรัดรอบเหล็กนอกเป็นระยะๆ และเมื่อมาถึงคำถามที่ว่า

วิธีการตรวจสอบเบื้องต้น โดยวิธีการสังเกตเหล็กเส้นข้ออ้อย

เนื้อเหล็ก เหล็กข้ออ้อยต้องมีบั้งเป็นระยะเท่าๆ กันสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น บั้งและครีบต้องมีขนาดและรูปร่างเหมือนๆ กัน มีสัญลักษณ์ ตราสินค้า ชื่อยี่ห้อสินค้า ชั้นคุณภาพ ชนิดเหล็ก และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ปั๊มมาบนผิวเหล็ก

ป้ายรายละเอียดเหล็ก มีรายละเอียดบนป้ายเหล็กที่สำคัญ อาทิ ชื่อบริษัท, ประเภทสินค้า (Type), ชั้นคุณภาพ (Grade), ขนาด (Size), ความยาว (Length), จำนวนเส้นต่อมัด (PSC : Bundle), เลขที่เตาหลอม (Batch,Head), วัน/เวลาที่ผลิต (Date/Time), เครื่องหมายและเลขที่ มอก.

ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต้องได้เกณฑ์ตามมาตรฐาน มอก. กำหนดที่เรียกว่า “เหล็กเต็ม” เช่น เหล็ก 9 มม. จะต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 9 มม. ขึ้นไป โดยเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ คือ เวอร์เนีย หรืออุปกรณ์อื่นที่สามารถใช้วัดได้ เช่น ตลับเมตร หรือไม้บรรทัด เป็นต้น ขนาดต้องเท่ากันตลอดเส้น ความยาวเท่ากันทุกเส้น จำนวนเส้นในมัดครบถ้วน

เหล็กเส้นข้ออ้อยนั้นมีคุณภาพที่หลากหลายในตลาด เนื่องจากยังมีแบ่งเป็นเหล็กเต็ม และเหล็กเบาอีกด้วย ดังนั้นการสร้างบ้านจึงต้องตรวจสอบอย่างละเอียดจากผู้รับเหมาเพื่อให้แน่ใจว่าเหล็กเส้นข้ออ้อยที่นำมาใช้นั้นเป็นเหล็กที่ได้คุณภาพตรงตามาตรฐาน

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เหล็กตัวซีโครงสร้างสำคัญของโครงหลังคา


เหล็กตัวซีโครงสร้างสำคัญของโครงหลังคา
เหล็กตัวซีโครงสร้างสำคัญของโครงหลังคา 

เหล็กตัวซีคืออะไร

เหล็กตัวซี คืออะไรหลายๆท่านอาจไม่ทราบหรือไม่เคยเห็น ซึ่งเหล็กตัวซีจัดอยู่ในประเภทเหล็กรูปพรรณ เหมาะกับงานก่อสร้างขนาดกลางและขนาดเล็ก เช่น ที่พักอาศัย และอาคารพานิชย์ ซึ่งเหล็กตัวซีนี้ เป็นเหล็กที่ใช้ทำโครงหลังคา และยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานโครงสร้างเหล็กทั่วไปได้

เหล็กตัวซี C Light Lip Channel ถือว่าเป็นหนึ่งในเหล็กรูปพรรณ (Structural steel) นิยมใช้ทำแปหลังคาและเสาค้ำยันที่รับน้ำหนักไม่มากนัก มีความยาว 6 ม. และมีขนาดมาตรฐานเริ่มต้นคือ 50x30x10x1.6 (AxBxHxTxT2) มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (แปหลังคา แปซี โครงตัวซี) เหล็กรูปพรรณนี้ เป็นเหล็กรีดร้อน (Hot Rolled) ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อนำไปใช้เป็นโครงสร้างอาคารต่างๆ ทำให้งานก่อสร้าง เสร็จได้รวดเร็วกว่างานคอนกรีต และทำให้ได้โครงสร้างที่มีช่วงกว้างกว่าและมีน้ำหนักเบากว่า เช่น โครงสร้างโรงงานอุตสาหกรรม สะพาน อาคารสูง ฯลฯ ส่วนประกอบทางเคมีของเหล็กรูปพรรณ คือ คาร์บอน ซิลิคอน แมงกานีส ฟอสฟอรัส และกำมะถัน

เหล็กตัวซี ตัวแทนไม้เนื้อแข็ง

เพราะไม้เนื้อแข็งที่ใช้สำหรับงานโครงสร้างเริ่มมีราคาสูง หายาก และคุณภาพไม่แน่นอน ช่าง ผู้รับเหมา จึงหันมาใช้เหล็กโครงสร้างรูปพรรณตัวซีมากขึ้น ซึ่งเหล็กรูปพรรณหน้าตัดตัวซี C หรือเรียกกันว่า เหล็กไลต์เกจ Light Gage ถูกนำมาใช้แทนไม้ เช่น จันทันใช้ขนาด 120x50x20มม. หนา 2.3มม. แทนจันทันไม้ขนาด 2x6 นิ้ว และใช้แปขนาด 75x45x15มม. หนา 2.3มม. แทนแปไม้ขนาด 1.5x3นิ้ว แต่เนื่องจากเหล็กไลต์เกจดังกล่าว มีความหนาเพียง 2.3มม. จึงมีจุดอ่อนที่รอยเชื่อมระหว่างจันทันกับแป หาเชื่อมฝีมือไม่ดี อาจจะทะลุที่รอยเชื่อม ทำให้เกิดสนิมได้ง่ายภายหลังและความแข็งแรงน้อยลง ดังนั้นถ้าจะให้โครงหลังคาแข็งแรงดี ควรใช้จันทันแบบเหล็กรูปรางน้ำ หนา 4มม.เหล็กตัวซีคืออะไร

การเลือกซื้อวัสดุประเภทเหล็กตัวซีที่ดี


· เหล็กคุณภาพ SS400

· เหล็กที่ผลิตต้องได้เต็มนิ้ว เต็ม มม. ที่กำหนด

· ดูที่น้ำหนักจริง ไม่ใช่เพียงแต่ดูที่ความหนา (เพราะความหนาโดยมากตรวจวัดด้วยตาไม่เห็น)

· เหล็ตัวซี ช่วงพับ ต้องได้ฉาก

· ความยาวต้อง 6 ม. เต็ม

· ควรมีใบ มอก. ประกอบการขาย เช่น เหล็กคุณภาพ แปซิฟิกไพพ์

ขนาดและน้ำหนักของเหล็กตัวซี


ขนาด
น้ำหนัก (กก.)


60x30x10x1.6มม. มอก.
8.91

168.72
75x45x15x1.6มม. มอก.
12.68

239.76
75x45x15x2.0มม. มอก.
15.64

270.84
75x45x15x2.0มม. มอก.
17.77

 308.58
100x100x3.2มม. มอก.
53.17


100x50x20x1.6มม. มอก.
15.75

 297.48
100x50x20x2.0มม. มอก.
19.46

 337.44
100x50x20x2.3มม. มอก.
22.20

 385.17
100x50x20x2.8มม. มอก.
26.63

 461.76
100x50x20x3.2มม. มอก.
30.07

 521.70
75x45x20x2.3มม. มอก.
17.77


125x50x20x2.3มม. มอก.
24.66

427.35
125x50x20x2.3มม. มอก.
33.51

 580.53
150x50x20x2.3มม. มอก.
27.12

 470.64
150x50x20x3.2มม. มอก.
36.96

การเลือกซื้อวัสดุประเภท เหล็กตัวซี ที่ดี ควรมีคุณสมบัติดังนี้

เหล็กคุณภาพ SS400 เหล็กที่ผลิตต้องได้เต็มนิ้ว เต็ม มม. ที่กำหนด ดูที่น้ำหนักจริง ไม่ใช่เพียงแต่ดูที่ความหนา (เพราะความหนาโดยมากตรวจวัดด้วยตาไม่เห็น) เหล็กตัวซี ช่วงพับต้องได้ฉาก ความยาวต้อง 6 ม. เต็ม ควรมีใบ มอก. ประกอบการขาย เช่น เหล็กคุณภาพ แปซิฟิกไพพ์

สิ่งสำคัญในการเลือกเหล็กนั้นผู้ใช้ต้องมีความรู้ความเข้าใจของคุณสมบัติของเหล็กแต่ละรูปแบบว่ามีการใช้งานอย่างไร เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการเลือกใช้ที่ถูกต้อง และเนื่องในตลาดมีเหล็กที่หลากหลายคุณภาพ จึงต้องศึกษาและระวังเหล็กเบาในท้องตลาดเพราะนั่นหมายความว่าโครงสร้างที่ใช้จะไม่ปลอดภัย