วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

ทำความรู้จักกับเหล็กกล่อง

ทำความรู้จักกับเหล็กกล่อง

เหล็กกล่องคืออะไร

เหล็กกล่อง (Steel Tube) หรือนิยมเรียกกันว่าเหล็กแป๊บ เป็นเหล็กรูปพรรณชนิดหนึ่ง มีสองประเภท คือ เหล็กกล่องสี่เหลี่ยม,ท่อเหลี่ยมหรือเหล็กแป๊บโปร่ง (Square Steel Tube) และเหล็กกล่องสี่เหลี่ยมแบนหรือเหล็กแป๊บแบน (Rectangular Steel Tube) มีส่วนประกอบทางเคมีสำคัญ ได้แก่ คาร์บอน แมงกานีส ฟอสฟอรัส และกำมะถัน
เหล็กกล่องสี่เหลี่ยม,ท่อเหลี่ยมหรือเหล็กแป๊บโปร่ง (Square Steel Tube)

เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวงแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวมาตรฐานเส้นละ 6 เมตร หรือ 6,000 มิลลิเมตร มีลักษณะเป็นท่อสี่เหลี่ยม มีมุมฉากที่เรียบคม ไม่มน ได้มุมฉาก 90 องศา ขนาดความยาวต้องวัดได้หน่วยมิลลิเมตร ผิดพลาดไม่เกิน 2% ทุกเส้นต้องยาวเท่ากัน นิยมนำมาใช้กับโครงสร้างที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมากนัก เช่น เสา นั่งร้าน,ประตู,ชั้นวางของด้านที่รับแรง สามารถนำไปใช้แทนไม้หรือคอนกรีตได้โดยการนำไปประยุกต์ เพราะมีน้ำหนักเบา, มีความแข็งแรง ทนทาน
เหล็กกล่องสี่เหลี่ยมแบนหรือเหล็กแป๊บแบน (Rectangular Steel Tube)

เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวงแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดความกว้างกับความสูงไม่เท่ากัน แต่มีความยาว 6,000 มิลลิเมตร ต่อเส้นเท่ากับความยาวของเหล็กแป๊บเหลี่ยม มีลักษณะผิวเรียบไม่หยาบ เหมาะสำหรับงานก่อสร้างทั่วไปที่มีขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น เสา,นั่งร้าน,ประตู เป็นต้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานทั่วไป ทดแทนการใช้ไม้ คอนกรีต และเหล็กรูปพรรณชนิดอื่นๆ น้ำหนักเบา และมีคุณสมบัติที่แข็งแรงทนทาน

เหล็กกล่องกัลวาไนซ์ เป็นกระบวนการผลิตเหล็กเคลือบกัลวาไนซ์กันสนิมโดยการนำเหล็กรูปพรรณไปชุป/พ่น/หรือทากัลวาไนซ์เพื่อป้องกันสนิม ซึ่งในความจริงแล้วการชุบกัลวาไนซ์คือชุบ Hot Dip กัลวาไนซ์ หรือการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot-dipped Galvanized ) นั่นเอง เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการปกป้องจากการเกิดสนิมในสภาพกลางแจ้ง (Outdoor) มีการสลายตัวประมาณปีละ 1 ไมครอน จึงมีอายุการใช้งานเกิน 20 ปี

ขั้นตอนการชุปกัลวาไนซ์


1. การกำจัดสิ่งสกปรก (Surface Cleaning)) เพื่อขจัดเศษฝุ่น (Rinsing) หรือผงต่างๆ ออกจากชิ้น งานล้างด้วยน้ำสะอาด (rinsing)
2. การกัดด้วยกรด (pickling) เช่น กรดซัลฟิวริก กรดไฮโดรคลอริก เพื่อกัดสนิมขนาดเล็กที่เกาะตามผิวของชิ้นงาน
3. การแช่น้ำยาประสาน (fluxing) เพื่อปรับความตึงผิวของเหล็กและเพื่อให้ชิ้นงานยึดติดกัลวาไนซ์ได้ดี
4. การชุบเคลือบสังกะสี(galvanizing) ซึ่งจะแบ่งวิธีการชุบได้ดังนี้

- การเขย่าหรือเหวี่ยง ใช้สำหรับงานพวกน็อต สกรู หรืองานขนาดเล็ก
- การชุบแบบธรรมดาโดยไม่ต้องเขย่าใช้กับชิ้นงานขนาดใหญ่ทั่วไป

5. การตกแต่งสำเร็จ (finishing) เช่น 
การขัดด้วยตะไบหรือเจียร์ออก
6. การตรวจสอบความหนา (inspection) เพื่อเป็นการยืนยันได้ว่าตรงตามความต้องการของลูกค้า


ข้อดีของการใช้เหล็กกล่องกัลวาไนซ์


1. ประหยัดค่าสี เพราะไม่ต้องใช้สีกันสนิม
2. ประหยัดเวลาและแรงงาน เพราะไม่ต้องใช้คนงานมาทาสีกันสนิม
3. มีอายุการใช้งานนาน
4. มีความแข็งแรงทนทาน
5. เก็บรักษาง่าย ไม่ต้องกังวลเรื่องสนิม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น