ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเหล็กกลม การขนส่งและความเหมาะสมในการใช้งาน |
หลาย ๆ คนอาจจะรู้จักเหล็กกลมกันมาบ้างแล้ว บทความนี้จึงมีข้อแนะนำในการเลือกซื้อ การใช้งาน รวมไปถึงหากอยากได้เหล็กเส้นกลมที่มีคุณภาพดีนั้น เราควรที่จะตรวจสอบอย่างไร
ข้อแนะนำในการเลือกซื้อ ความเหมาะสมในการใช้งานเหล็กกลม
- เหล็กเส้นกลมสำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มากนัก
- เหล็กเส้นกลมสำหรับใช้ทำปลอกเสา
- เหล็กเส้นกลมสำหรับใช้ทำปลอกคาน
- เหล็กเส้นกลมสำหรับไม่นิยมสำหรับงานยึดเกาะเช่นปูน เพราะเหล็กมีผิวเรียบมน ไม่เหมาะกับงานยึดเกาะ
- เหล็กเส้นกลมมีหลายขนาด ซึ่งแต่ละขนาดก็ใช้งานได้ต่างกัน
อยากได้เหล็กเส้นกลมที่ดี มีคุณภาพ จะตรวจสอบได้อย่างไร
ผิวของเหล็กต้องเรียบ เกลี้ยง ไม่มีลูกคลื่น ไม่มีปีก ไม่มีรอยแตก หน้าตัดต้องกลม ไม่เบี้ยวเส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักต้องถูกต้อง เช่น SR24 ขนาด 9 มม. เมื่อวัดเส้นผ่าศูนย์กลางต้องได้ 9 มม. น้ำหนักต้องได้ 0.499 กก./ 1 เมตร ความยาวทั้งเส้นตามมาตรฐานต้องยาว 10 เมตร เป็นต้น
เมื่อดัดโค้งงอต้องไม่ปริแตกและหักง่าย
เหล็กต้องไม่เป็นสนิมกินเข้าไปในเนื้อเหล็ก แต่หากเป็นสนิมบ้างบนผิวเหล็ก อาจเป็นเรื่องของสภาพอากาศของเมืองไทย ไม่ต้องกังวล
อยากได้เหล็กที่ดี มีคุณภาพ จะตรวจสอบได้อย่างไร
เหล็กเส้นก็เปรียบเหมือนกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทั่วๆไป คือจะต้องมีป้ายฉลากบอกรายละเอียดสินค้า เมื่อมีการผลิตเหล็กเส้นออกจำหน่าย ผู้ผลิตจะต้องติดป้ายเหล็กเพื่อบอกรายละเอียดที่เป็นข้อมูลสำคัญ ได้แก่
- บริษัทผู้ผลิต ประเภทสินค้า (Type)
- ชั้นคุณภาพ (Grade)
- ขนาด(Size)
- ความยาว (Length)
- วันเวลาที่ผลิต (Date/Time)
- เครื่องหมายมอก.
- ชื่อผู้ผลิตหรือตรายี่ห้อ
- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง เช่น RB9 DB16 DB20
- ชั้นมาตรฐานของเหล็กนั้นๆ เช่น SR24 SD40 SD50
การเลือกการขนส่งเหล็กเส้นกลม
เหล็กเส้นกลมแบบตรงกับเหล็กเส้นกลมแบบพับต่างกันยังไง
1. เหล็กเส้นกลมแบบพับ
ลักษณะของเหล็กเส้นกลมแบบพับคือจะพับมาให้เลยสะดวกในการขนขึ้นรถ และสามารถบรรทุกในรถหกล้อ รถสิบล้อ หรือในบางครั้งอาจจะขนส่งโดยรถกระบะก็ได้
เหมาะสำหรับการสั่งเหล็กเส้นกลมในบริมาณที่ไม่มากนัก
2. เหล็กเส้นกลมแบบตรง
ลักษณะของเหล็กเส้นกลมแบบพับคือจะไม่พับมาขนส่งโดยรถพ่วงเท่านั้น เพราะยาวมาก
เหมาะสำหรับการสั่งเหล็กเส้นกลมปริมาณเยอะมากๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น