วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562

ประเภทตามกระบวนการผลิต,ความแตกต่างระหว่างชุบกัลวาไนซ์กับชุบสังกะสี








เหล็กกัลวาไนซ์แบ่งตามกระบวนการการผลิตได้เป็น 2 แบบ

1. เหล็กกัลวาไนซ์ Hot Dip Galvanized คือ


เป็นกระบวนการผลิตเหล็กเคลือบกัลวาไนซ์กันสนิมโดยการนำเหล็กรูปพรรณไปชุป พ่น หรือทากัลวาไนซ์เพื่อป้องกันสนิม ด้วยกระบวนการผลิตหลายขั้นตอนเหล็กกัลวาไนซ์ Hot Dip จึงมีราคาค่อนข้างสูงกว่าเหล็กรูปพรรณทั่วไป

**HOT DIPPED (ฮ็อตดิป) คือการจุ่มร้อน หนา ตั่งแต่50ไมครอน ถึง250

ลักษณะการใช้งาน

เหมาะสำหรับงานต้องต้องการป้องกันสนิมสูง เช่น ท่อเดินน้ำมันทางทะเล

2. เหล็กกัลวาไนซ์ PreZinc คือ


เป็นเหล็กที่เรียกกันทั่วไปว่าเหล็กขาว กระบวนการผลิตคือนำคอยส์เหล็กผสมซิงค์Zinc (สังกะสี) มาขึ้นรูปและรีดเหมือนเหล็กรูปพรรณทั่วไปแต่ยังคุณสมบัติกันสนิมเพราะเนื้อเหล็กที่มีส่วนผสมของสังกะสีช่วยกันสนิม ไม่จำเป็นต้องทาสีกันสนิม ความแข็งแกร่งยังคงเทียบเท่ากับเหล็กรูปพรรณทั่วไป ที่สำคัญราคาประหยัดกว่าเหล็กกัลวาไนซ์แบบ Hot Dip การชุปซิ่งค์ หรือซิ้ง หรืออิเลคโตรกัลวาไน หนา8-15ไมครอน

ลักษณะการใช้งาน

เหล็กโครงหลังคา เหล็กก่อสร้าง เหล็กรั้ว เหล็กคร่าว เหล็กเสา เหล็กคาน เหล็กตง โครงถัก Trus


ความแตกต่างระหว่างชุบกัลวาไนซ์กับชุบสังกะสี


(Hot-dipped Galvanized vs electro plated galvanized)

ความจริงแล้วการชุบกัลวาไนซ์คือชุบฮอตดิบกัลวาไนซ์ หรือการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot-dipped Galvanized) แต่คนทั่วไปมักเรียกว่าชุบกัลวาไนซ์หรือกาวาไนซ์ มีความหนาประมาณ 65 – 300 ไมครอน (ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าและเงื่อนไขอื่นๆจากการจุ่มร้อน) วิธีนี้มักใช้กับงานที่ต้องการการปกป้องจากการเกิดสนิมในสภาพกลางแจ้ง (Outdoor) มีการสลายตัวประมาณปีละ 1 ไมครอน (อายุงานเกิน 20 ปี)

การชุบสังกะสีหรือชุบซิ้งค์คนไทยมักจะหมายถึงการชุบอิเลกโคตรเพลทติ้ง หรือการชุบสังกะสีด้วยไฟฟ้า มีความหนาประมาณ 5- 10 ไมครอน เหมาะสำหรับงานที่ไม่เน้นการป้องการเกิดสนิมมากนักหรือสภาวะไม่รุนแรงให้เกิดสนิมได้ง่ายหรืออยู่ในร่ม(Indoor) หากอยู่สภาพกลางแจ้ง(Outdoor)จะเป็นสนิมได้ง่าย

1. เหล็กกัลวาไนซ์ Hot Dip Galvanized ราคาสูงกว่าเหล็กกัลวาไนซ์ PreZin

2. เหล็กกัลวาไนซ์ Hot Dip Galvanized เหมาะสำหรับงานต้องต้องการป้องกันสนิมสูงกว่า

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เรื่องที่ควรรู้ก่อนจะซื้อกระเบื้องหลังคาไทยประยุกต์




แน่นอนว่าหลังคาบ้านนั้น เปรียบเหมือนส่วนเติมเต็มที่ช่วยให้บ้านดูสมบูรณ์มากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่เติมเต็มในเรื่องความสวยงามเท่านั้น แต่ยังเติมเต็มในเรื่องการปกป้องบ้านจากสภาวะอากาศภายนอกบ้านได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่ากระเบื้องหลังคานั้นมีความสำคัญมากกว่าที่คิด ซึ่งการจะเลือกซื้อกระเบื้องหลังคาจะคิดแต่เรื่องสีสันและความสวยงามอย่างเดียวคงไม่พอ ยังต้องคำนึงถึงกระเบื้องหลังคาราคาที่ดี คุณภาพและความเหมาะสมกับตัวบ้าน

รู้จักกับหลังคาบ้านไทยประยุกต์


เป็นหลังคาที่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่ต้องทนร้อนทนฝนได้เป็นอย่างดี เพราะตัวหลังคาที่มีทรงสูง ลอนพลิ้ว ทำให้เลี่ยงการสัมผัสแสงแดดได้ดี และช่วยให้ความร้อนถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้านได้ช้า รวมถึงยังระบายน้ำจากฝนก็ทำได้ดีกว่าหลังคาทรงต่ำ พร้อมกับคุณสมบัติการใช้งานอย่างโดดเด่น โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนักที่เบา ช่วยลดภาระค่าก่อสร้างโครงสร้างหลังคาได้ดี

3 แบบหลังคาทรงไทยประยุกต์

หลังคาทรงจั่ว

เป็นหลังคาตามภูมิปัญญาดั้งเดิม ที่สร้างอย่างเข้าใจธรรมชาติสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น เพราะทำหน้าที่ระบายความร้อนและน้ำฝนได้ดีกว่าหลังคาแบบอื่นๆ องศาความลาดเอียงของหลังคาช่วยให้น้ำฝนไหลลงสู่ด้านล่างได้รวดเร็ว ไม่ซึมขัง รูปแบบโครงสร้างที่มีสันสูงตรงกลางทำให้เกิดพื้นที่ใต้หลังคามาก เมื่อความร้อนลอยตัวขึ้นมาอยู่ที่สูงบริเวณจั่วก็จะผ่านออกทางช่องระบายอากาศได้ง่าย ส่งผลให้บ้านเย็นเร็วขึ้น ความสูงของหลังคายังทำให้โชว์ความสวยงามของกระเบื้องหลังคาได้ชัดเจนด้วย

หลังคาทรงปั้นหยา

ลักษณะคล้ายกับหลังคาจั่วแต่มีมุมลาดเอียงน้อยกว่า หลังคาจะครอบคลุมปิดทั้ง 4 ด้าน มีมุมสูงตรงกลางดูคล้ายปีรามิด เป็นรูปแบบที่ค่อนข้างทันสมัยจึงนิยมสร้างในบ้านจัดสรรหรือรีสอร์ท รูปทรงของหลังคาที่ปิดคลุมทำให้กันลมกันฝนได้ดีทุกด้าน แต่การระบายความร้อนจะทำได้น้อยกว่าแบบจั่ว ทำให้ต้องติดระแนงไม้บริเวณฝ้าชายคาเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ การก่อสร้างต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญสูงเพราะมีจุดเชื่อมต่อค่อนข้างมาก

หลังคาทรงมะนิลา


เป็นหลังคาที่นำข้อดีของหลังคาจั่วและปั้นหยาผสมเข้าด้วยกัน เหมาะกับสภาพภูมิอากาศบ้านเราเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความชันหลังคาที่เหมาะสมต่อการระบายน้ำฝนและยังสามารถป้องกันแดดให้กับตัวบ้านได้ทั้งสี่ด้านเหมือนทรงปั้นหยา รูปทรงของหลังคาทำให้มีพื้นที่ใต้โถงหลังคาค่อนข้างมาก เอื้อต่อการระบายความร้อนออกทางชายคา หรือทางหน้าจั่วได้ นอกจากนี้ ระยะชายคาที่ยื่นออกจากตัวบ้านโดยรอบก็ยังช่วยให้ร่มเงาได้อีกด้วย

ขนาดของแผ่นกระเบื้อง


เลือกแผ่นสั้นพอเหมาะ โดยความยาวควรอยู่ที่ประมาณ 65 ซ.ม. จะช่วยให้เวลาปูหลังคากระเบื้องจะเรียงตัวถี่ดูพลิ้วสวยงาม เหมาะกับบ้านไทยประยุกต์

รูปลอนกระเบื้อง


ควรเลือกลอนกระเบื้องหลังคาที่มีรูปลอนพลิ้วสวย ที่มีความละเมียดละไมอย่างมีเอกลักษณ์ ช่วยสะท้อนความโดดเด่นของหลังคาบ้านไทยประยุกต์ด้วยทรงสูง ที่มีการเล่นระดับเล็กๆ ช่วยส่งเสริมความงามของตัวบ้านได้

การเลือกโทนสี


ควรเลือกใช้สีโทนธรรมชาติ เช่น สีส้มอิฐ สีน้ำตาล หรือ สีเทาแกรนิต เพราะจะทำให้บ้านดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ซึ่งถือเป็นเสน่ห์ของบ้านแบบไทยประยุกต์ ที่เน้นการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ

ต้องคำนึงถึงเรื่องวัสดุด้วย


เลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ทนทาน แข็งแรง เช่น ไฟเบอร์ซิเมนต์ ที่ไม่มีใยหิน เพราะจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของโครงสร้าง และยังมีคุณสมบัติที่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนทั้งแดดทั้งฝนอีกด้วย

คุณภาพของแบรนด์ที่เลือกใช้


เลือกแบรนด์ที่เชื่อถือได้ โดยมีความเชี่ยวชาญในด้านหลังคาเป็นอย่างดีและที่สำคัญต้องได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อให้มั่นใจและวางใจได้ในเรื่องคุณภาพการผลิต เพราะนอกจากความสวยงามของหลังคาแล้ว ความแข็งแรง และปลอดภัยของตัวหลังคาก็เป็นส่วนที่ควรให้ความสำคัญ

หมดความเสี่ยงจากแร่ใยหิน


โดยปกติแร่ใยหินเป็นส่วนผสมที่เจือปนกับวัสดุก่อสร้าง จะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและปอด สำหรับกระเบื้องหลังคาบางรุ่นนั้น ผลิตจากไฟเบอร์ซีเมนต์ที่ไม่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน ผู้อยู่อาศัยจึงมั่นใจในความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของคนในครอบครัว