วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562

ประเภทตามกระบวนการผลิต,ความแตกต่างระหว่างชุบกัลวาไนซ์กับชุบสังกะสี








เหล็กกัลวาไนซ์แบ่งตามกระบวนการการผลิตได้เป็น 2 แบบ

1. เหล็กกัลวาไนซ์ Hot Dip Galvanized คือ


เป็นกระบวนการผลิตเหล็กเคลือบกัลวาไนซ์กันสนิมโดยการนำเหล็กรูปพรรณไปชุป พ่น หรือทากัลวาไนซ์เพื่อป้องกันสนิม ด้วยกระบวนการผลิตหลายขั้นตอนเหล็กกัลวาไนซ์ Hot Dip จึงมีราคาค่อนข้างสูงกว่าเหล็กรูปพรรณทั่วไป

**HOT DIPPED (ฮ็อตดิป) คือการจุ่มร้อน หนา ตั่งแต่50ไมครอน ถึง250

ลักษณะการใช้งาน

เหมาะสำหรับงานต้องต้องการป้องกันสนิมสูง เช่น ท่อเดินน้ำมันทางทะเล

2. เหล็กกัลวาไนซ์ PreZinc คือ


เป็นเหล็กที่เรียกกันทั่วไปว่าเหล็กขาว กระบวนการผลิตคือนำคอยส์เหล็กผสมซิงค์Zinc (สังกะสี) มาขึ้นรูปและรีดเหมือนเหล็กรูปพรรณทั่วไปแต่ยังคุณสมบัติกันสนิมเพราะเนื้อเหล็กที่มีส่วนผสมของสังกะสีช่วยกันสนิม ไม่จำเป็นต้องทาสีกันสนิม ความแข็งแกร่งยังคงเทียบเท่ากับเหล็กรูปพรรณทั่วไป ที่สำคัญราคาประหยัดกว่าเหล็กกัลวาไนซ์แบบ Hot Dip การชุปซิ่งค์ หรือซิ้ง หรืออิเลคโตรกัลวาไน หนา8-15ไมครอน

ลักษณะการใช้งาน

เหล็กโครงหลังคา เหล็กก่อสร้าง เหล็กรั้ว เหล็กคร่าว เหล็กเสา เหล็กคาน เหล็กตง โครงถัก Trus


ความแตกต่างระหว่างชุบกัลวาไนซ์กับชุบสังกะสี


(Hot-dipped Galvanized vs electro plated galvanized)

ความจริงแล้วการชุบกัลวาไนซ์คือชุบฮอตดิบกัลวาไนซ์ หรือการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot-dipped Galvanized) แต่คนทั่วไปมักเรียกว่าชุบกัลวาไนซ์หรือกาวาไนซ์ มีความหนาประมาณ 65 – 300 ไมครอน (ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าและเงื่อนไขอื่นๆจากการจุ่มร้อน) วิธีนี้มักใช้กับงานที่ต้องการการปกป้องจากการเกิดสนิมในสภาพกลางแจ้ง (Outdoor) มีการสลายตัวประมาณปีละ 1 ไมครอน (อายุงานเกิน 20 ปี)

การชุบสังกะสีหรือชุบซิ้งค์คนไทยมักจะหมายถึงการชุบอิเลกโคตรเพลทติ้ง หรือการชุบสังกะสีด้วยไฟฟ้า มีความหนาประมาณ 5- 10 ไมครอน เหมาะสำหรับงานที่ไม่เน้นการป้องการเกิดสนิมมากนักหรือสภาวะไม่รุนแรงให้เกิดสนิมได้ง่ายหรืออยู่ในร่ม(Indoor) หากอยู่สภาพกลางแจ้ง(Outdoor)จะเป็นสนิมได้ง่าย

1. เหล็กกัลวาไนซ์ Hot Dip Galvanized ราคาสูงกว่าเหล็กกัลวาไนซ์ PreZin

2. เหล็กกัลวาไนซ์ Hot Dip Galvanized เหมาะสำหรับงานต้องต้องการป้องกันสนิมสูงกว่า

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เรื่องที่ควรรู้ก่อนจะซื้อกระเบื้องหลังคาไทยประยุกต์




แน่นอนว่าหลังคาบ้านนั้น เปรียบเหมือนส่วนเติมเต็มที่ช่วยให้บ้านดูสมบูรณ์มากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่เติมเต็มในเรื่องความสวยงามเท่านั้น แต่ยังเติมเต็มในเรื่องการปกป้องบ้านจากสภาวะอากาศภายนอกบ้านได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่ากระเบื้องหลังคานั้นมีความสำคัญมากกว่าที่คิด ซึ่งการจะเลือกซื้อกระเบื้องหลังคาจะคิดแต่เรื่องสีสันและความสวยงามอย่างเดียวคงไม่พอ ยังต้องคำนึงถึงกระเบื้องหลังคาราคาที่ดี คุณภาพและความเหมาะสมกับตัวบ้าน

รู้จักกับหลังคาบ้านไทยประยุกต์


เป็นหลังคาที่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่ต้องทนร้อนทนฝนได้เป็นอย่างดี เพราะตัวหลังคาที่มีทรงสูง ลอนพลิ้ว ทำให้เลี่ยงการสัมผัสแสงแดดได้ดี และช่วยให้ความร้อนถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้านได้ช้า รวมถึงยังระบายน้ำจากฝนก็ทำได้ดีกว่าหลังคาทรงต่ำ พร้อมกับคุณสมบัติการใช้งานอย่างโดดเด่น โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนักที่เบา ช่วยลดภาระค่าก่อสร้างโครงสร้างหลังคาได้ดี

3 แบบหลังคาทรงไทยประยุกต์

หลังคาทรงจั่ว

เป็นหลังคาตามภูมิปัญญาดั้งเดิม ที่สร้างอย่างเข้าใจธรรมชาติสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น เพราะทำหน้าที่ระบายความร้อนและน้ำฝนได้ดีกว่าหลังคาแบบอื่นๆ องศาความลาดเอียงของหลังคาช่วยให้น้ำฝนไหลลงสู่ด้านล่างได้รวดเร็ว ไม่ซึมขัง รูปแบบโครงสร้างที่มีสันสูงตรงกลางทำให้เกิดพื้นที่ใต้หลังคามาก เมื่อความร้อนลอยตัวขึ้นมาอยู่ที่สูงบริเวณจั่วก็จะผ่านออกทางช่องระบายอากาศได้ง่าย ส่งผลให้บ้านเย็นเร็วขึ้น ความสูงของหลังคายังทำให้โชว์ความสวยงามของกระเบื้องหลังคาได้ชัดเจนด้วย

หลังคาทรงปั้นหยา

ลักษณะคล้ายกับหลังคาจั่วแต่มีมุมลาดเอียงน้อยกว่า หลังคาจะครอบคลุมปิดทั้ง 4 ด้าน มีมุมสูงตรงกลางดูคล้ายปีรามิด เป็นรูปแบบที่ค่อนข้างทันสมัยจึงนิยมสร้างในบ้านจัดสรรหรือรีสอร์ท รูปทรงของหลังคาที่ปิดคลุมทำให้กันลมกันฝนได้ดีทุกด้าน แต่การระบายความร้อนจะทำได้น้อยกว่าแบบจั่ว ทำให้ต้องติดระแนงไม้บริเวณฝ้าชายคาเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ การก่อสร้างต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญสูงเพราะมีจุดเชื่อมต่อค่อนข้างมาก

หลังคาทรงมะนิลา


เป็นหลังคาที่นำข้อดีของหลังคาจั่วและปั้นหยาผสมเข้าด้วยกัน เหมาะกับสภาพภูมิอากาศบ้านเราเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความชันหลังคาที่เหมาะสมต่อการระบายน้ำฝนและยังสามารถป้องกันแดดให้กับตัวบ้านได้ทั้งสี่ด้านเหมือนทรงปั้นหยา รูปทรงของหลังคาทำให้มีพื้นที่ใต้โถงหลังคาค่อนข้างมาก เอื้อต่อการระบายความร้อนออกทางชายคา หรือทางหน้าจั่วได้ นอกจากนี้ ระยะชายคาที่ยื่นออกจากตัวบ้านโดยรอบก็ยังช่วยให้ร่มเงาได้อีกด้วย

ขนาดของแผ่นกระเบื้อง


เลือกแผ่นสั้นพอเหมาะ โดยความยาวควรอยู่ที่ประมาณ 65 ซ.ม. จะช่วยให้เวลาปูหลังคากระเบื้องจะเรียงตัวถี่ดูพลิ้วสวยงาม เหมาะกับบ้านไทยประยุกต์

รูปลอนกระเบื้อง


ควรเลือกลอนกระเบื้องหลังคาที่มีรูปลอนพลิ้วสวย ที่มีความละเมียดละไมอย่างมีเอกลักษณ์ ช่วยสะท้อนความโดดเด่นของหลังคาบ้านไทยประยุกต์ด้วยทรงสูง ที่มีการเล่นระดับเล็กๆ ช่วยส่งเสริมความงามของตัวบ้านได้

การเลือกโทนสี


ควรเลือกใช้สีโทนธรรมชาติ เช่น สีส้มอิฐ สีน้ำตาล หรือ สีเทาแกรนิต เพราะจะทำให้บ้านดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ซึ่งถือเป็นเสน่ห์ของบ้านแบบไทยประยุกต์ ที่เน้นการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ

ต้องคำนึงถึงเรื่องวัสดุด้วย


เลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ทนทาน แข็งแรง เช่น ไฟเบอร์ซิเมนต์ ที่ไม่มีใยหิน เพราะจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของโครงสร้าง และยังมีคุณสมบัติที่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนทั้งแดดทั้งฝนอีกด้วย

คุณภาพของแบรนด์ที่เลือกใช้


เลือกแบรนด์ที่เชื่อถือได้ โดยมีความเชี่ยวชาญในด้านหลังคาเป็นอย่างดีและที่สำคัญต้องได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม เพื่อให้มั่นใจและวางใจได้ในเรื่องคุณภาพการผลิต เพราะนอกจากความสวยงามของหลังคาแล้ว ความแข็งแรง และปลอดภัยของตัวหลังคาก็เป็นส่วนที่ควรให้ความสำคัญ

หมดความเสี่ยงจากแร่ใยหิน


โดยปกติแร่ใยหินเป็นส่วนผสมที่เจือปนกับวัสดุก่อสร้าง จะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและปอด สำหรับกระเบื้องหลังคาบางรุ่นนั้น ผลิตจากไฟเบอร์ซีเมนต์ที่ไม่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน ผู้อยู่อาศัยจึงมั่นใจในความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของคนในครอบครัว

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561

โทนสีในการใช้สีทาบ้าน


หลายๆท่านอาจจะไม่ทราบว่าสีทาบ้านที่ทาภายในนั้น มีผลต่ออารมและจิตใจของคนที่อยู่ในห้องด้วย เราลองมาดูกันนะคะ ว่าเราควรมีวิธีการเลือกสีอย่างไร

โทนสีแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ

ทาสีทาภายในด้วยสีโทนเย็น

สีโทนเย็น เช่น สีเขียว สีเหลืองอ่อน สีฟ้าอ่อน เป็นโทนสีสุดฮิต เพราะจะให้ความรู้สึกผ่อนคลาย สงบ สดชื่น คลายความเครียด ให้ความรู้สึกเป็นมิตร เหมาะสำหรับทาห้องที่มีขนาดใหญ่ เช่น ห้องรับแขก ห้องนอน ห้องนั่งเล่น

สีโทนอบอุ่น

เป็นโทนสีที่ไม่เข้มมาก เช่น สีม่วง สีส้มอ่อน สีน้ำตาลอ่อน ให้ความรู้สึกเป็นกันเอ อบอุ่น ผ่อนคลาย เหมาะกับห้องรับแขก ห้องหนังสือ

ทาสีทาภายในสีโทนร้อน

เป็นโทนสีที่เข้ม และสด เช่น สีแดง สีส้ม สีชมพู เป็นสีที่ทำให้รู้สึกกระตือรือร้น มีพลัง กระฉับกระเฉง เหมาะสำหรับทาห้องครัว ห้องอาหาร โดยสีโทนนี้มีผลทางจิตวิทยาทำให้มีความอยากอาหารมากกว่าปกติ แต่ไม่ควรให้สีจัดมากเกินไป เพราะบางครั้งจะทำให้รู้สึกไม่สบายตา ปวดหัว อึดอัดได้ค่ะ

มาลองดูเคล็ดลับการเลือกสีทาบ้านจากสีเบเยอร์กันค่ะ


สาเหตุที่เราต้องใส่ใจกับการเลือกสีบ้านนั้นมีเหตุผลมากมาย แต่ปัจจัยที่สำคัญจริงๆที่เราควรใส่ใจก็เป็นเพราะว่า บ้านเป็นสถานที่ที่เราอยู่อาศัย พักผ่อนกันในครอบครัว สร้างความสุข ดังนั้น เราจึงควรเลือกสรรทั้งสีทาภายนอกและสีทาภายในให้ดีที่สุด

1.พิจารณาจากแสงสว่างภายในบ้าน : ถ้าต้องการให้บ้านดูสว่าง ควรทาบ้านสีอ่อนๆ เช่นสีครีม สีจาว สีเบจ นอกจากจะช่วยจะทำให้บ้านสว่างแล้วยังทำให้บ้านดูกว้างขึ้นอีกด้วย หรือสำหรับบ้านที่มีความรู้สึกกว้างหรือโล่งเกินไป ก็สามารถใช้สีเข้มๆแก้ไข ทำให้บ้านดูมีขนาดที่ดูแล้วไม่กว้างจนเกินไปได้ค่ะ

2. พิจารณาสีทาภายในควบคู่กับของใช้ในบ้าน : ถ้าพิจารณาส่วนนี้ จะทำให้การตกแต่งบ้านดูสวย ลงตัว เช่น เทียบกับพื้น โซฟา นอกจากจะช่วยเรื่องความสวยงามแล้ว ยังช่วยปรับสมดุลความสว่างหรือมืดเฉพาะจุดได้อีกด้วย

3. การเลือกสีทาบ้านแบบสีกลางๆ อาจจะไม่ได้เหมาะกับบ้านทุกหลัง : สีจำพวกสีเทา สีเบจ สีน้ำตาลอ่อน ที่เป็นสีที่คนเลือกใช้มากที่สุด เพราะเข้ากับเฟนิเจอร์ได้ง่าย บางครั้งอาจจะทำให้บ้านดูน่าเบื่อ ลองออกแบบดีๆ อาจจะทำให้บ้านดูมีชีวิตชีวาขึ้นก็ได้ค่ะ

4. ตรวจให้แน่ใจก่อนจะซื้อสีมาทา : หลังจากที่เลือกสีทาบ้านได้แล้ว อย่าเพิ่งรีบไปซื้อนะคะ เพราะบางครั้งสีที่ซื้ออาจจะไม่ใช่สีที่คิด ควรมีการทดสอบก่อน โดยการลองนำสีไปติดไว้บนผนังตามส่วนต่างๆของบ้าน และสังเกตุสี ความเปลี่ยนแปลง ถ้ามั่นใจแล้วก็ซื้อได้เลย สีเบเยอร์ก็มีผลิตภัณฑ์และสีที่เยอะมากนะคะ ลองให้สีเบเยอร์เป็นตัวเลือกนึงของคุณก็ดีนะคะ

ถ้าหากว่าผู้อ่านเข้าใจวิธีการเลือกสีทาบ้านอย่างลึกซึ้งแล้ว ศึกษาให้ถ่องแท้ก็อาจจะหาซื้อสีทาบ้านราคาถูกได้นะคะ มีแหล่งซื้อสีทาบ้านอีกเยอะให้เลือกซื้อและตัดสินใจค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เหล็กชุบกัลวาไนซ์ คืออะไร ดีกว่าเหล็กอย่างอื่นอย่างไร

Add captionเหล็กชุบกัลวาไนซ์ คืออะไร ดีกว่าเหล็กอย่างอื่นอย่างไร


กัลวาไนซ์ (Galvanize/Galvanization/Galvanizing) คือ วิธีการเคลือบพื้นผิวเหล็กด้วยสังกะสีเพื่อป้องกันสนิม ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (Electrogalvanizing), การเคลือบด้วยวิธีทางกล (Mechanical Coatings), การพ่นเคลือบด้วยเปลวความร้อน (Zinc Spraying), การทาด้วยสีฝุ่นสังกะสี (Zinc-Rich Paints), การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot-dip Galvanizing), การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง (Continuous Hot Dip Galvanizing), การเคลือบด้วยเทคนิคเชอร์ราไดซ์ซิ่ง (Sherardizing)) เป็นต้น เหล็กที่ผ่านการเคลือบสังกะสีแล้วมักจะถูกเรียกว่า เหล็กกัลวาไนซ์ (Galvanized Steel)

ทั้งนี้ การกัลวาไนซ์ที่นิยมกันมากคือการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน โดยจะชุบเหล็กลงไปในบ่อสังกะสีเหลวที่กำลังหลอมละลายในอุณหภูมิประมาณ 435-455 องศาเซลเซียส ซึ่งสังกะสีจะเคลือบติดกับพื้นผิวเหล็กหนามากขึ้นตามระยะเวลาที่แช่ในบ่อ โดยทั่วไปจะมีความหนาของชั้นเคลือบประมาณ 65 – 300 ไมครอน เหล็กกัลวาไนซ์ที่ชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนเหมาะสำหรับการใช้งานเป็นส่วนประกอบของอาคารที่อยู่ภายนอกบ้าน ส่วนกลางแจ้ง หรือในบริเวณที่ต้องเจอกับความชื้นเป็นประจำ เช่น โครงสร้างหลังคา เสาธง เสาโคมไฟถนน โครงคร่าวผนัง รางน้ำฝน เป็นต้น

ข้อดีของเหล็กชุบกัลวาไนซ์

ถ้าหากเปรียบเทียบเหล็กชุบกัลป์วาไนซ์กับเหล็กทั่วไป เหล็กที่ผ่านการชุบกัลป์วาไนซ์นั้น ให้ความทนทาน และแข็งแรงกว่าเหล็กทั่วไป เนื่องจากการชุบกัลป์วาไนซ์นั้นเป็นการป้องกันการเกิดสนิม โดยไม่ต้องทาสีกันสนิมอีกด้วย จึงประหยัดค่าแรงงาน และประหยัดค่าสีกันสนิม อีกทั้งยังช่วยลดเวลาการทำงานได้ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเหล็กทั่วไป โดยยาวนานได้ถึง 50 ปี โครงสร้างเหล็กติดตั้งได้รวดเร็ว จึงประหยัดค่าแรงงานคนงาน

การนำเหล็กท่อชุปกัลวาไนซ์มาใช้งาน


เหล็กกัลวาไนซ์ตัวซี : เหมาะกับการใช้งานประเภทโครงหลังคา หรือโครงผนังภายในและภายนอกอาคาร
เหล็กกัลวาไนซ์ตัวยู : เหมาะกับการใช้งานประเภทโครงผนังบ้านตัวรับตัวซี โครงผนัง
เหล็กกล่องกัลวาไนซ์ : เหมาะกับการใช้งานโครงสร้างหลักเสาบ้าน หรือเหล็กกล่องแบนเหมาะกับการใช้งานประเภทโครงสร้างรองของบ้าน
เหล็กแผ่นกัลวาไนซ์ : เหมาะกับการใช้งานทำพื้นอาคาร วัสดุปูพื้น หรือทำท่อแอร์ ท่อลม
เหล็ก I-Beam หรือ H-Beam กัลป์วาไนซ์ : เหมาะกับการใช้งานประเภทโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ ๆ ที่ต้องการการกันสนิม และป้องกันการกัดกร่อน เช่น ใต้ดิน ริมทะเล ในทะเล โดยที่ไม่ต้องการการแก้ไขปรับปรุงอยู่บ่อยๆ
ท่อเหล็กกลมกัลป์วาไนซ์ : เหมาะกับการใช้งานทำโครงสร้างรั้วบ้าน ท่อประปา

อายุการใช้งานของการเคลือบผิวด้วยกัลวาไนซ์ 

การเคลือบผิวด้วยกัลป์วาไนซ์ โดยผ่านการทดสอบภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ค่าการต้านทานการเกิดการกัดกร่อนของการเคลือบผิวเบื้องต้น หาได้จากความหนาของผิวที่เคลือบ แต่ทั้งนี้การเคลือบนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าสภาพแวดล้อมที่ใช้งานในขณะนั้นอีกด้วย การคาดการณ์อายุของผิวเคลือบนั้นมีความสำคัญสำหรับการซ่อมบำรุงคือเรื่องของการตั้งงบประมาณ

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561

ทำความรู้จักกับเหล็กเสริมคอนกรีต



เหล็กเสริมคอนกรีตคืออะไร

            เหล็กเสริมคอนกรีต หมายถึง  เหล็กเส้นกลมธรรมดาหรือเหล็กข้ออ้อย  เหล็กเสริมคอนกรีตนี้ต้องเป็นเหล็กที่มีขนาดโตเสมอต้นเสมอปลาย มีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่าที่คิดจากเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กซึ่งกำหนดไว้ในแบบ เป็นเหล็กใหม่ผิวสะอาดปราศจากสนิม หรือน้ำมัน ไม่มีรอยแตกร้าวและมีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของกระทรวง อุตสาหกรรม ทั้งขนาด ทั้งน้ำหนัก และคุณสมบัติอื่นๆปริมาณและขนาดทั้งหมดของเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตให้ถือ ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในแบบโครงสร้าง  ผู้รับจ้างจะต้องเตรียมเหล็กเสริมตามตำแหน่ง ปริมาณ ขนาด และคุณภาพให้ถูกต้องตามแบบและรายการประกอบแบบโดยเคร่งครัด

ชนิดของเหล็กที่นำมาใช้กับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก

            1. เหล็กเส้นกลม (Round Bar)
                        เหล็กเส้นกลม คือ เหล็กเส้นที่มีพื้นที่ภาคตัดขวางเป็นรูปกลม มีผิวเรียบเกลี้ยง เหล็กเส้นกลมตามมาตรฐาน มอก. 20-2527 ทำจากเหล็กแท่งเล็ก (billet) เหล็กเส้นใหญ่ (bloom) หรือ เหล็กแท่งหล่อ (ingot) โดยตรง ด้วยกรรมวิธีรีดร้อนโดยไม่เคยมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นมาก่อน มีขนาด 6, 9, 12, 15, 19, 22, 25, 28 และ 34 มิลลิเมตร ความยาว 10 หรือ 12 เมตร มีชั้นคุณภาพเดียว ใช้สัญลักษณ์ SR 24 ชื่อขนาดใช้สัญลักษณ์ RB แล้วตามด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นนั้นๆ เหล็กทุกเส้นจะต้องมีชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตและชื่อขนาดหล่อเป็นตัวนูนติดกับผิวเหล็ก ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตจะต้องห่างจากชื่อ ขนาดไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร เหล็กเส้นชนิดนี้นิยมใช้กันมากที่สุดกับงานก่อสร้างขนาดเล็กและขนาดกลาง
            2. เหล็กรีดซ้ำ (Re-rolled Round Bar)
                        เหล็กรีดซ้ำ ตามมาตรฐาน มอก. 211-2527 ทำจากเศษเหล็กที่ได้จากเข็มพืด (sheet pile) เหล็กแผ่นต่อเรือ (ship plate) เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ หรือเหล็กที่คัดออกระหว่างการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้วนำมารีดเป็นเส้นกลมด้วยกรรมวิธีรีดร้อน มีขนาด 6, 8, 9, 10, 12 และ 15 มิลลิเมตร ความยาว 10 หรือ 12 เมตร มีชั้นคุณภาพเดียว ใช้สัญลักษณ์ SRR 24 ชื่อขนาดใช้สัญลักษณ์ R แล้วตามด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นนั้นๆ เหล็กทุกเส้นจะมีชื่อ หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตและชื่อขนาด หล่อเป็นตัวนูนติดกับผิวเหล็กเช่นเดียวกับเหล็กเส้นกลมด้วยเช่นกัน
            3. เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar)
                        เหล็กข้ออ้อย คือ เหล็กเส้นที่มีพื้นที่ภาคตัดขวางเป็นรูปกลม มีบั้ง (transverse ribs) และอาจมีครีบ (longitudinal ribs) ที่ผิว เพื่อเสริมกำลังยึดระหว่างเหล็กเส้นกับเนื้อคอนกรีต เหล็กข้ออ้อยตามมาตรฐาน มอก. 24-2527 ทำจากเหล็กชนิดเดียวกัน และด้วยกรรมวิธีเดียวกันกับเหล็กเส้นกลม มีขนาด 10, 12, 16, 20, 22, 25, 28 และ 32 มิลลิเมตร ความยาว 10 หรือ 12 เมตร มี 3 ชั้นคุณภาพ ใช้สัญลักษณ์ SD 30, SD 40 และ SD 50 ชื่อขนาดใช้สัญลักษณ์ DB แล้วตามด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นนั้นๆ เหล็กทุกเส้นจะมีชื่อเรียกหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตและชื่อขนาด หล่อเป็นตัวนูนติดกับผิวเหล็กเช่นเดียวกับเหล็กเส้นกลม และเหล็กรีดซ้ำ เหล็กเส้นชนิดนี้เนื่องจากให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กกับเนื้อคอนกรีตได้ดีกว่า 2 แบบแรก จึงนิยมนำไปใช้กับงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ

วิธีการเก็บรักษาเหล็กเสริมคอนกรีต

            1. จัดเก็บเหล็กเสริมคอนกรีตให้พ้นจากสิ่งสกปรก เช่น ดิน สี น้ำมัน ฯลฯ และต้องเก็บไว้เหนือพื้นดินโดยต้องมีหลังคาป้องกันน้ำค้าง น้ำฝน

            2.  เหล็กเสริมคอนกรีตที่ส่งเข้าหน่วยงานก่อสร้างจะต้องจัดกองเก็บแยกกองก่อน หลังที่นำเข้ามาตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อสามารถนำเหล็กที่เข้ามาก่อนไปใช้ก่อน โดยไม่ปะปนกับเหล็กเส้นซึ่งนำเข้ามาใหม่

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561

ข้อดีของบ้านโครงสร้างเหล็ก




ในปัจจุบันบ้านโครงสร้างเหล็กเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่อยากสร้างบ้านใหม่และงานต่อเติม เพราะเหล็ก เป็นวัสดุสำเร็จรูปผลิตมาจากโรงงานได้มาตรฐาน ตอบโจทย์งานออกแบบบ้านได้ทั้งรูปทรงเรขาคณิตและรูปทรงอิสระ ประกอบติดตั้งที่หน้างานก่อสร้างได้ง่าย รวดเร็วประหยัดเวลากว่างานคอนกรีตเสริมเหล็กร้อยละสามสิบ สามารถทำโครงสร้างที่มีช่วงคานยาวและคานยื่นได้ดี เสาคานเหล็กมีขนาดเล็กทำให้ภายในบ้านโล่งกว้างไม่มีส่วนของเสาหรือคานโผล่ซึ่งทำให้จัดวางเฟอร์นิเจอร์ได้ง่าย อีกทั้งยังเดินท่อน้ำใต้ท้องพื้น เดินท่อร้อยสายไฟฟ้าได้ง่าย

ข้อดีของบ้านโครงสร้างเหล็ก

1.       ระยะเวลาก่อสร้างสั้น รวดเร็ว
2.       ระยะเวลาก่อสร้างลดลง ทำให้ค่าแรงลดลงด้วย
3.       ปริมาณการทำงานลดลง ทำให้จำนวนแรงงานที่ต้องใช้ลดลง
4.       เหล็กมีความยืดหยุ่นสูง ช่วยให้บ้านสามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ดีขึ้น
5.       โครงสร้างเหล็กน้ำหนักเบากว่าคอนกรีต จึงช่วยลดการใช้เสาเข็มลงได้
6.       เหล็กมีความแข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้มาก
7.       เพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน (ลดขนาดเสา และคาน)
8.       ออกแบบรูปทรงแปลกใหม่ เช่น ลักษณะคานยื่นยาว รูปทรงเอียง
9.       ขั้นตอนการก่อสร้างลดลง ทำให้ปัจจัยที่จะเกิดความผิดพลาดลดลง
10.   สามารถสร้างในพื้นที่ที่เฉพาะ และมีข้อจำกัดสูงได้
สำหรับงานโครงสร้างที่เป็นเหล็กทั้งหมดไม่ใช้คอนกรีตเลยนั้น มักจะใช้เหล็กรูปพรรณ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและมีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้มาก สิ่งก่อสร้างที่ใช้เหล็กเป็นตัวโครงสร้างรับน้ำหนัก เช่น สะพาน Golden Gate Bridge  สะพานพุทธฯ  ไปจนถึงบ้านที่อยู่อาศัย  เหล็กรูปพรรณในงานโครงสร้างเหล่านี้มีอยู่หลายชนิดด้วยกันเช่น เหล็ก H Beam, I Beam และ cut beam เป็นต้น ซึ่งเหล็กที่นิยมใช้มากที่สุดสำหรับงานเสา-คาน คือ  เหล็ก H beam และเหล็ก I beam นั่นเองค่ะ
วิธีการนำเหล็กโครงสร้างมาประกอบเข้าด้วยกันมีอยู่สองระบบ ได้แก่ ระบบสลักเกลียว และระบบเชื่อมด้วยไฟฟ้า

ระบบสลักเกลียว   ส่วนมากเสาคานเหล็กตัวไอจะมีขนาดหน้าตัดและความหนาตามมาตรฐาน สามารถติดตั้งบ่าเหล็กฉากเข้ากับเสาก่อนแล้วจึงยึดเหล็กคานเข้ากับบ่าเหล็กฉากด้วยการร้อยน้อตสกรู ควรหันหางเกลียวออกด้านนอก แล้วขันน้อตสกรูรองแหวนด้วยมือใส่จนครบทุกตัว แล้วจึงใช้ประแจปอนด์ขันให้แน่นอีกครั้งค่ะ
ระบบเชื่อมด้วยไฟฟ้า การจัดเตรียมเหล็กให้ได้ขนาดตามแบบ จำเป็นต้องว่าจ้างโรงงานหรือตัดด้วยแก๊ส ควรเชื่อมบ่าเหล็กฉากติดข้างเสาเพื่อใช้เป็นระดับอ้างอิง วางคานเหล็กบนบ่ารองให้ครบ เชื่อมแต้มยึดโครงสร้างไม่ให้เคลื่อนตัว เชื่อมรอบแนวรอยต่อด้วยธูปเชื่อม แนวเชื่อมควรมีความกว้างอย่างน้อย 6 มิลลิเมตร เคาะเศษธูปตามแนวเชื่อมทิ้ง จากนั้นให้ทาสีกันสนิมเคลือบผิวเหล็กและแนวรอยต่อ
ไม่ว่าโครงสร้างเหล็กเหนือระดับพื้นดินจะประกอบกันโดยระบบใดก็ตาม ฐานรากใต้ดินที่รองรับน้ำหนักของตัวบ้านก็ยังคงเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเดียวกันกับบ้านปูน ซึ่งควรจะหล่อตอม่อยกตัวโครงสร้างเหล็กให้อยู่สูงจากระดับพื้นดินพร้อมกับทาสี โคลทาร์อีพ็อกซี เคลือบคานเหล็กชั้นล่างรวมถึงโคนเสา เพื่อลดความชื้นที่จะสัมผัสโครงสร้าง  หลังจากนี้งานก่อสร้างสามารถทำเหมือนกับบ้านปูนได้ทุกประการค่ะ

วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2561

คุณสมบัติของ เหล็กกัลวาไนซ์เมื่อเทียบกับงานสเตนเลส


               


                เหล็กมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแต่ประเภทก็มีการผลิต ความแข็งแรงและการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งเราจะมาเปรียบเทียบกันว่าเหล็กกัลวาไนซ์และสเตนเลสมีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อทำให้เข้าคุณสมบัติและข้อดีข้อเสียของเหล็กทั้งสองประเภทมากขึ้น

คุณสมบัติของเหล็กกัลวาไนซ์

1.       การเคลือบของกัลวาไนซ์ หรือ สังกะสีทำให้ป้องกันการผุกร่อน เหล็ก GI (GALVANIZE IRON) ผ่านการรีดเย็น ข้อดีของการรีดเย็น คือ เหล็กที่ได้จะมีลักษณะผิวเรียบ ผิวมัน สามารถนำไปใช้งานได้เลย
2.       ส่วนผสมของกัลวาไนซ์หรือสังกะสีในเนื้อผิวและเหล็กจะป้องกันไม่ให้เหล็กเป็นสนิม จึงไม่จำเป็นต้องทาสีกันสนิมช่วยประหยัดค่าสีกันสนิมและประหยัดเวลาในการติดตั้งโครงสร้าง

ข้อดีของเหล็กกัลวาไนซ์

                1. ช่วยประหยัดค่าสีกันสนิม เพราะเหล็กกัลไนซ์มีส่วนผสมของสังกะสีป้องกันสนิมเรียบร้อยแล้วจากโรงงานผลิต (Pre-Gavalvanized process)
                2. ช่วยประหยัดเวลาและค่าแรงคนงานในการทาสีกันสนิมทำให้ลดระยะเวลาในการก่อสร้างและติตตั้ง
                3. ช่วยประหยัดในระยะยาว (long term saving and less maintenance) เนื่องจากอายุการใช้งานยาวนานกว่า 50 ปี และไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษามาก
                4. มีความทนทานและแข็งแรงเทียบเท่ากับเหล็กรูปพรรณ Yield Strength: 2500 - 3500 KSC
                5. สะดวกในการกองเก็บวัสดุ ไม่ต้องกลัวสนิม

 ข้อเสียของเหล็กกัลวาไนซ์

1.       เหล็กกัลวาไนซ์0tเป็นสนิมบริเวณที่ต่อ เพราะบริเวณนั้นต้องมีการตาร์บเกลียว จะทำให้ขัดสังกะสีที่เคลือบออก
2.       เหล็กกัลวาไนซ์ไม่เหมาะกับระบบปะปา หรือระบบท่อเนื่องจากสังกะสีจะปนเปื้อนกับระบบน้ำและเป็นอันตรายต่อการบริโภคและอุปโภค
3.       เหล็กกัลวาไนซ์อันตรายจากการเชื่อมเนื่องจากการเชื่อมเหล็กชนิดนี้ก่อสารพิษจากสังกะสีซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ปฎิบัติงานหากไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายอย่างเพียงพอ

**อายุการใช้งานเฉลี่ยของท่อกัลวาไนซ์/เหล็กกัลวาไนซ์ อยู่ที่ประมาณ 10-20 ปี**

ท่อกัลวาไนซ์/เหล็กกัลวาไนซ์เมื่อเทียบกับงานสเตนเลส

                1. ท่อกัลวาไนซ์/เหล็กกัลวาไนซ์รับน้ำหนักได้มากกกว่า เนื่องจากมีความหนาของเหล็กมากกว่า และมีการเคลือบกันสนิม - สเตนเลสที่นำมาใช้ทำประตู หนา 1.2 มิล เหล็กที่นำไปชุบ หลังชุบจะหนา 2.2 มิลขึ้นไป
                2. ท่อกัลวาไนซ์/เหล็กกัลวาไนซ์ราคาถูกกว่างานสเตนเลส มากกกว่า 50% เช่นประตูสเตนเลส 100,000 ประตูทำจากกับวาไนซ์ต่ำกว่า 50,000 แน่ๆ
                3. อายุการใช้งานเมื่อเทียบกัน ท่อกัลวาไนซ์/เหล็กกัลวาไนซ์ 30 ปีขึ้น สเตนเลสน่าจะใกล้เคียงกัน (เนื่องจากยังไม่เคยพิสูจน์เวลา)
                4. เหล็กชุปกับวาไนซ์ ลดสนิมโครงสร้างทั้งหมด แต่ส่วนประกอบอื่นๆ อาจจะขึ้นสนิมได้ ดังนั้นโดยรวมจะลดสนิมไปประมาณ 90% ซึ่งเมื่อนำไปใช้จริง
                5. สามารถทำสีต่อได้ เมื่อสีถลอก จะปรากฎเนื้อเหล็กขาวๆ ไม่ขึ้นสนิม สวยงาม
                6. ซึ่งจากที่สรุป คือ ทนมลภาวะ จึงเหมาะกับการใช้งานแถบชายทะเล หรือแม้แต่ในเมือง
ซึ่งจากที่กล่าวมา เมื่อเทียบกับต้นทุนค่าชุบที่เพิ่มขึ้น กับระยะเวลาใช้งานแล้ว ถือว่าคุ้มค่าในการเลือกใช้