วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ทำความรู้จักกับแป๊บแบน

ทำความรู้จักกับแป๊บแบน 



เหล็กกล่องหรือแป๊บแบน คืออะไร เหล็กกล่องนี้จัดอยู่ในประเภทเหล็กรูปพรรณ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เหล็กกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Rectangular Steel Tube) หรือ เหล็กแป๊บแบน และเหล็กกล่องสี่เหลี่ยมจตุรัส (Square Steel Tube) หรือ เหล็กแป๊บเหลี่ยม สำหรับเหล็กกล่องทั้งสองชนิดนี้เหมาะกับงานก่อสร้างขนาดกลางและขนาดเล็ก และเป็นเหล็กที่มีปริมาณซื้อขายในตลาดค่อนข้างมาก เช่น ที่พักอาศัย และอาคารพานิชย์ เสา,นั่งร้าน,ประตู เป็นต้น

เหล็กกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Rectangular Steel Tube) มีชื่อเรียกหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น ท่อแบน แป๊ปแบน หรือ เหล็กแป๊บแบน เป็นเหล็กที่มีโครงสร้างรูปพรรณกลวงแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาว 6,000 มิลลิเมตร/เส้น มีลักษณะเป็นท่อสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผิวเรียบไม่หยาบ ขนาดความยาวเท่ากันทุกเส้น เป็นท่อเหล็กที่ไม่มีมาตรฐานกำหนด เน้นสำหรับใช้งานโครงสร้างทั่วไปที่มีขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นเหล็กที่ไม่เน้นคุณสมบัติทางกลมากนัก สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานทั่วไป ทดแทนการใช้ไม้ คอนกรีต และเหล็กรูปพรรณชนิดอื่นๆ น้ำหนักเบา และมีคุณสมบัติที่แข็งแรงทนทาน ราคาเหล็กแป๊บแบนสูงกว่าเหล็กชนิดอื่นๆ เพราะเหล็กแป๊บแบนเป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งการใช้เหล็กแป๊บแบนจะช่วยให้การทำงานรวดเร็วและสะดวกขึ้น

คุณสมบัติของเหล็กแป๊บแบน 


คุณสมบัติของหล็กแป๊บแบน คือ น้ำหนักเบา แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานก่อสร้างอื่นๆได้อย่างหลากหลาย ทั้งงานก่อสร้างทั่วไปขนาดเล็กและขนาดกลาง สามารถใช้ทดแทนไม้ หรือ งานโครงสร้าง เช่น คอนกรีตเสา นั่งร้าน ประตู และเหล็กรูปพรรณชนิดอื่นๆ เนื่องด้วยคุณสมบัติที่ดีกว่า จากที่ทราบกันไปแล้วว่า เหล็กแป๊บแบน เป็นเหล็กที่มีโครงสร้างของเหล็กรูปพรรณวันนี้เราจะมาดูข้อดีของการใช้งานเหล็กแป๊บแบนที่มี โครงสร้างรูปพรรณกัน

ประโยชน์ของเหล็กแป๊บแบน


โดยลดระยะเวลาในการก่อสร้าง เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็วต่อการใช้งาน อีกทั้งยังสามารถลดดอกเบี้ยของโครงการ ทำให้สามารถเปิดใช้งานได้เร็วขึ้น มีการเตรียมการจากโรงงานผลิตได้เลย ทั้งสเปกและคุณภาพ สามารถออกแบบโครงสร้างได้หลากหลาย เช่น ดัดโค้ง ทำโครงสร้างโปร่ง หรือทำส่วนยื่นมาดัดแปลงได้ ด้วยโครงสร้างที่มีน้ำหนักเบา ทำให้ประหยัดฐานราก จึงช่วยลดการขนส่ง มีการควบคุม ตรวจสอบคุณภาพ บำรุงรักษาได้สะดวกแข็งแรง ทนต่อการเกิดแผ่นดินไหวได้ดีกว่าระบบอื่น สามารถใช้ก่อสร้างในบริเวณที่จำกัดได้ ไม่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองกระจายตามอากา อีกทั้งยังต่อเติม ดัดแปลง รื้อถอน โดยสามารถนำไปใช้ในงานอื่นต่อได้ และสามารถนำมาหลอมละลายเพิ่มกลับมาใช้ใหม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น