เหล็กเส้นกลมวัสดุสำคัญในงานก่อสร้าง |
เหล็กกลมเป็นวัสดุสำคัญในงานก่อสร้าง โครงสร้างอาคารที่เป็นนิยมในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้วยเทคโนโลยีในการผลิตวัสดุก่อสร้างทั้งคอนกรีตและเหล็กเส้นถูกพัฒนาขึ้นมากกว่าเมื่อก่อนเยอะมาก และวัสดุที่เป็นองค์ประกบสำคัญสำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กส่วนหนึ่ง ซึ่งก็คือเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตนั่นเอง ในบทความนี้เราจะมาพูดถึง เหล็กเส้นกลมกันก่อน
โดยเหล็กชนิดนี้มีระดับชั้นคุณภาพคือ SR24 ซึ่งบ่งบอกถึงความสามารถในการรับแรงดึง ในส่วนนี้มีความสำคัญมากเป็นตัวบอกว่าเหล็กเส้นนั้นๆ มีความสามารถรับแรงมากน้อยได้แค่ไหน โดยตัวเลขที่ระบบจะเป็นตัวเลขที่มีหน่วยเป็น “ร้อยกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร” หมายถึง เหล็กเส้นกลมที่มีความสามารถในการรับแรงได้ 24x100 = 2400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรนั้นเอง
· ผิวของเหล็กต้องเรียบ เกลี้ยง ไม่มีลูกคลื่น ไม่มีปีก ไม่มีรอยแตก หน้าตัดต้องกลม ไม่เบี้ยว
· เส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักต้องถูกต้อง เช่น SR24 ขนาด 9 มม. เมื่อวัดเส้นผ่าศูนย์กลางต้องได้ 9 มม. น้ำหนักต้องได้ 0.499 กก./ 1 เมตร ความยาวทั้งเส้นตามมาตรฐานต้องยาว 10 เมตร เป็นต้น
· เมื่อดัดโค้งงอต้องไม่ปริแตกและหักง่าย
· เหล็กต้องไม่เป็นสนิมกินเข้าไปในเนื้อเหล็ก แต่หากเป็นสนิมบ้างบนผิวเหล็ก อาจเป็นเรื่องของสภาพอากาศของเมืองไทย ไม่ต้องกังวล
เหล็กเส้นกลม (Round Bars) คืออะไร?
เหล็กเส้นกลม (Round Bars) หรือเรียกย่อว่า RB เป็นเหล็กที่ผลิตขึ้นด้วยวิธีการรีดร้อน คือการขึ้นเส้นในขณะที่เหล็กยังมีความร้อนสูงอยู่ ทำให้เหล็กแข็งแรง คงค้างที่ตัววัสดุ เหมาะสำหรับที่จะมาเสริมคอนกรีตและการขึ้นรูป เป็นต้น ในด้านชนิดของเหล็กเส้นกลมและขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเส้นกลม บนผิวเหล็กนอกจากจะมีการระบุค่าความสามารถในการรับแรงดึง ยังระบุชนิดของเหล็กและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางด้วย เช่น เหล็กเส้นกลมจะระบุเป็น RB ตามด้วยเลขขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมีหน่วยเป็น มม. เช่น RB12 จะหมายถึง เหล็กเส้นกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 มม.โดยเหล็กชนิดนี้มีระดับชั้นคุณภาพคือ SR24 ซึ่งบ่งบอกถึงความสามารถในการรับแรงดึง ในส่วนนี้มีความสำคัญมากเป็นตัวบอกว่าเหล็กเส้นนั้นๆ มีความสามารถรับแรงมากน้อยได้แค่ไหน โดยตัวเลขที่ระบบจะเป็นตัวเลขที่มีหน่วยเป็น “ร้อยกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร” หมายถึง เหล็กเส้นกลมที่มีความสามารถในการรับแรงได้ 24x100 = 2400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรนั้นเอง
ข้อพิจารณาเมื่อเลือกซื้อเหล็กเส้นกลม
· ผิวของเหล็กต้องเรียบ เกลี้ยง ไม่มีลูกคลื่น ไม่มีปีก ไม่มีรอยแตก หน้าตัดต้องกลม ไม่เบี้ยว
· เส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนักต้องถูกต้อง เช่น SR24 ขนาด 9 มม. เมื่อวัดเส้นผ่าศูนย์กลางต้องได้ 9 มม. น้ำหนักต้องได้ 0.499 กก./ 1 เมตร ความยาวทั้งเส้นตามมาตรฐานต้องยาว 10 เมตร เป็นต้น
· เมื่อดัดโค้งงอต้องไม่ปริแตกและหักง่าย
· เหล็กต้องไม่เป็นสนิมกินเข้าไปในเนื้อเหล็ก แต่หากเป็นสนิมบ้างบนผิวเหล็ก อาจเป็นเรื่องของสภาพอากาศของเมืองไทย ไม่ต้องกังวล
ตารางด้านล่างแสดงถึงมาตรฐานขนาดและน้ำหนักของเหล็กเส้นกลม
ขนาดและน้ำหนักเหล็กเส้นกลม
ชื่อขนาด
|
เส้นผ่านศูนย์กลาง
(มม.)
|
พื้นที่ตัดขวาง
(ตร.มม.)
|
มวล (กก./ม.)
|
RB 6
|
6
|
28.30
|
0.222
|
RB 8
|
8
|
50.30
|
0.395
|
RB 9
|
9
|
63.60
|
0.499
|
RB 10
|
10
|
78.50
|
0.616
|
RB 12
|
12
|
113.10
|
0.888
|
RB 15
|
15
|
176.70
|
1.387
|
RB 19
|
19
|
283.50
|
2.226
|
RB 22
|
22
|
380.10
|
2.984
|
RB 25
|
25
|
490.90
|
3.853
|
RB 28
|
28
|
615.80
|
4.834
|
RB 34
|
34
|
907.90
|
7.127
|